ทัวร์อินเดียทัวร์เนปาลทัวร์ภูฏานทัวร์จีนทัวร์เวียดนามทัวร์พม่าทัวร์บาหลีทัวร์ลาวทัวร์เขมรทัวร์ทิเบต
ทัวร์เกาหลีทัวร์ญี่ปุ่นทัวร์ฮ่องกงทัวร์ไต้หวันทัวร์มาเลเซีย สิงคโปร์
ทัวร์แชงกรีล่า ทัวร์คุนหมิงทัวร์จิ่วจ้ายโกว หวงหลงทัวร์แคชเมียร์ทัวร์ตุรกีทัวร์ยุโรป
line2

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ ลาวใต้

            แขวงจำปาสัก    เป็นแขวงที่มีความหลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  และประวัติศาสตร์ให้เยี่ยมชม แต่ละแห่งอยู่ไกลกันค่อนข้างใช้เวลาในการเดิน
ทาง  ดังนั้นควรมีเวลาสัก 3 วัน 2 คืน เพื่อจะได้เที่ยวชมได้ครบ   โดยโปรแกรมที่ไม่ควรพลาดคือการเดินทางไปชมความยิ่งใหญ่ของน้ำตกคอนพะเพ็งและหลี่ผีต่อด้วยการชม
ปราสามวัดพูโบราณสถานครั้งเก่าก่อนนครวัด   และปิดท้ายด้วยการไปชม น้ำตกตาดฟาน ตาดเยือง ตาดผาส้วม 

         ปากเซ เมืองหลวงของแขวงจำปาสัก   จากชายแดนช่องเม็กในอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี  ผ่านด่านวังเต่า  ชายแดนของลาวที่ชาวบ้านจำนำสินค้ามาวางขาย
นักท่องเที่ยวสามารถแวะชม แวะซื้อได้ตามสะดวก จากนั้นมาตามทางหลวงหมายเลข 10  ซึ่งเป็นถนนลาดยางอย่างดี ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตรก็จะถึงสะพานมิตรภาพ
ลาว-ญี่ปุ่น มีความยาว 1,380 เมตร  ข้ามแม่น้ำโขงมาถึงเมืองปากเซ  เมืองหลวงของแขวงจำปาสัก   ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของลาว สมัยนั้นฝรั่งเศสตั้งเมืองจำปาสัก
ขึ้นมา เพื่อคานอำนาจกับเมืองจำปาสัก(บ้านวัดทุ่ง) ซึ่งมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ย้อนขึ้นไปถึงยุคก่อนเข้ามาตั้งรกรากของขอมโบราณ เมืองปากเซไม่มีอารยธรรมเก่าแก่เหมือน
กับเมืองจำปาสัก  แต่กลับมีความหลากหลายของเชื้อชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม  มีจำนวนประชากรอาศัยราว 70,000 คน นอกจากชาวลาวแล้วยังมีชาวจีนและเวียดนาม
เข้ามา อาศัยและตั้งรกรากทำมาหากินจำนวนมาก  บรรยากาศโดยทั่วไปในเมืองปากเซ  เงียบสงบเป็นธรรมชาติ ชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย 

         วัดหลวง  ตั้งอยู่  ริมแม่น้ำเซโดน  ทางทิศเหนือของตลาดเก่า   วัดหลวงสร้างขึ้นในปี 2478  เป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญในเมืองปากเซ  เพราะเป็นสถานที่เก็บอัฐิ
ของราชวงศ์สายจำปาสักหลายพระองค์  รวมทั้งอัฐิของท่านกระต่าย  โดนสะโสลิด  อดีตนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยม  มีลักษณะเป็นสถูปเจดีย์เรียงรายโดยรอบวัด 
จุดเด่นน่าชมอยู่ที่บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ แกะสลักด้วยไม้ลวดลายสวยงาม  ถัดมาทางขวาของพระอุโสสถเป็นอาคารเก่าแก่  ซึ่งเป็นหอสมุดและสำนักงานของ
ครู ส่วนด้านหลังเป็นอาคารไม้  2 ชั้นอยู่ติดแม่น้ำเซโดนใช้เป็นโรงเรียนสอนพุทธศาสนาสำหรับพระสงฆ์

         ปราสาทวัดพู   ห่างจากตัวเมืองจำปาสักมาทางทิศใต้ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร  ปราสาทวัดพู หรือวัดพูจำปาสัก ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในอดีต
ที่ตั้งของวัดพูเคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของแหล่งอารยธรรมโบราณถึง 3 สมัยด้วยกันคือ  อาณาจักรเจนละในช่วงศตวรรษที่ 6-8 ค้นพบจารึกกล่าวถึงการฆ่าคนเพื่อบูชาแด่
เทพเจ้า  ต่อมาเป็นยุคของอาณาจักรขอมสมัยก่อนเมืองพระนครที่เลือกบริเวณนี้เป็นที่สร้างปราสาทหินในราวศตวรรษที่ 9 และสุดท้ายอาณาจักรล้านช้างได้เปลี่ยนเทวาลัย
ในศาสนาฮินดูให้เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายเถรวาท สิ่งโดดเด่นสะดุดตาแก่ผู้บเห็นคือ ภูเขาด้านหลังปราสาทที่ตั้งตระหง่านมองเห็นแต่ไกล รูปร่างคล้ายนมของผู้หญิงและ
คนเ กล้ามวยผม   ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภูผาแห่งนี้ว่าเขานมสาว   แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าภูเกล้ามากกว่า  อาณาเขตของปราสาทวัดพูเริ่มต้นจากริมฝั่งแม่น้ำโดยมีบันไดทางขึ้นลด
หลั่นกันขึ้นมา 3 ชั้น  จนถึงองค์ประธานของปราสาทซึ่งอยู่ชั้นบนสุด  นอกเขตวัดมีบารายขนาดใหญ่  ซึ่งในสมัยโบราณใช้เป็นที่แข่งเรือและที่สรงน้ำสำหรับพิธีกรรมต่างๆ 
เมื่อเข้าไปในบริเวณวัด  จะเห็นซากวังที่พระราชวงศ์สายจำปาสักให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรงานเทศกาลประจำปี  ซึ่งจะจัดขึ้นในวัน 15 ค่ำ เดือน 3 
สืบทอดจนมาถึงทุกวันนี้  ถัดมามีบันไดทางขึ้นที่ตัดในแนวตะวันออก-ตะวันตก  ทอดผ่านสระน้ำทรงสี่เหลี่ยม 2 แห่ง ตรงขึ้นไปสู่ชาลา(ทางเดิน)  ชั้นกลางซึ่งมีปรางค์  2
หลังขนาบข้าง   สันนิษฐานจากภาพแกะสลักรูปเทพเจ้าว่า  ปรางค์ด้านขวามือเป็นสถานที่บวงสรวงบูชาสำหรับบุรุษ   ส่วนปรางค์ทางด้านซ้ายมือเป็นสถานที่บวงสรวง
สำหรับสตรี   เหนือโคปุระหรือประตูทางเข้าปรางค์ทั้งสอง  เป็นทับหลังแกะสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องราวในศาสนาฮินดูเดินต่อมาผ่านสิ่งปลูกสร้างหลายหลังมีสภาพปรักหักพัง
จนมองไม่ออกว่าสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ใด  ผ่านบันไดที่มีรูปร่างคล้ายเกล็ดนาคมาถึงหินสลักรูปโยนีสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของศาสนาฮินดูที่อยู่ทางขวามือและ
ซ้ายมือของทางเดินหลัก   ถัดมาที่บันไดสูงชันที่ทอดขึ้นสู่ชาลาชั้นที่ 3 ผ่านทิวแถวของต้นจำปาเรียงรายสองข้างทางมาถึงปรางค์ประธานตั้งอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังของ
เทวรูป ทับหลัง  และต้นไม้น้อยใหญ่  ในอดีตมีการต่อรางนำน้ำที่ไหลออกจากหินย้อยในหลืบถ้ำบริเวณด้านหลังมาสู่ศิวลึงค์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในประธาน  เพื่อใช้ในการ
ประกอบพิธีกรรม ซึ่งบ่งบอกได้ว่าปราสาทวัดพูแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูไศวนิกาย  แต่ปัจจุบันศิวลึงค์ได้ถูกนำออกมาและเปลี่ยนเป็นพระพุทธรูป
ในศาสนาพุทธแทน  ชาวบ้านนิยมนำดอกไม้และธูปเทียนมาบูชา  และเรียกปรางค์ประธานแห่งนี้ว่าหอไหว้    ส่วนทางด้านหลังซ้ายมือของปรางค์ประธานมีแผ่นหินขนาดใหญ่
  ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  มีภาแกะสลักรูปตรีมูรติขนาดเกือบเท่าคนจริง  ซึ่งหมายถึง เทพเจ้าทั้ง 3 องค์ ผู้เป็นใหญ่สูงสุดในศาสนาฮินดูอันได้แก่  พระอิศวร  พระนารายณ์
และพระพรหม  เดินถัดมาประมาณ 10 เมตร จะพบก้อนหินสองก้อน  แกะสลักเป็นรูปจระเข้และบันไดนาคตั้งอยู่ตรงข้ามกัน  เชื่อว่าอาจเป็นฝีมือของชาวเจนละในสมัยนั้น  ที่
สลักไว้เพื่อใช้ในพิธีบูชายัญก็เป็นได้  นอกจากนี้ยังพบก้อนหินรูปร่างกลมขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขาแกะสลักเป็นรูปหัวช้างเชื่อว่าเป็นหลักฐานชิ้นสุดท้ายสมัยขอมเรืองอำนาจ
สำหรับงานบุญประเพณีของวัดพูเป็นเทศกาลที่โด่งดัง   และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ  โดยจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี  ซึ่งจะจัด
ติดต่อกัน 3 วัน โดยประชาชนชาวลาวจากทั่วทุกแขวงจะเดินทางนำสิ่งของมาบวงสรวงบูชาตามจุดต่างๆ  ในบริเวณองค์ประธาน สำหรับในวันสุดท้ายพระสงฆ์จะออกมา
บิณฑบาต พอตกค่ำจะมีพิธีเวียนเทียนไปรอบๆ องค์ประธาน

       ดอนโขง  ที่ตั้งอยู่ถัดจากวัดพูลงมาตามน้ำระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร  การเดินทางมาตามทางหลวงหมายเลข 13  ใต้ ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 130 แล้วเลี้ยว
ขวาเข้าสู่ท่าแพบ้านหาด  เพื่อข้ามแพขนานยนต์ไปยังดอนโขง  ดอนโขงเป็นดอนที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขง ส่วนกว้างสุดวัดได้ 6 กิโลเมตรยาว 12 กิโลเมตร  มีถนนรอบเกาะ
ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร  นับเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งไฟฟ้า น้ำประปา มีโรงแรมและเกสต์เฮาส์เปิดให้บริการ  ส่วนใหญ่
ปรับปรุงมาจากวิลล่าสมัยฝรั่งเศสรวมทั้งร้านอาหารริมน้ำโขงบรรยากาศดี  ที่พร้อมเสริฟเมนูปลาจานเด็ดไปพร้อมกับวิวทิวทัศน์ที่งดงาม 

       น้ำตกคอนพะเพ็ง   เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สุดในเขตแม่น้ำโขงตอนล่าง  ตั้งอยู่บนแก่งหินขนาดใหญ่ขวางกั้นเส้นทางการไหลของแม่น้ำโขงทั้งสาย มีลักษณะต่าง-
ระดับ กันสูงประมาณ 10 เมตร ซึ่งแม้จะมีชั้นของหินไม่สูงมากนัก  แต่กระแสน้ำที่ไหลถาโถมกันลงมามีความรุนแรงมาก ด้วยแม่น้ำโขงทั้งสายไหลลงมาจากนั้นก็จแยกออก
มาเป็นหลายสาย  สาเหตุเพราะแรงดันของน้ำจำนวนมหาศาลที่ไหลบ่าถาโถมกระหน่ำลงมาจากชั้นหินราวกับจะถล่มทลายแก่งหินอย่าดุดันและเกรี้ยวกราด   สร้างความตื่นนา
ที่น่าประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว   สมกับคำร่ำลือและยกย่องให้เป็น ไนแองการ่าแห่งเอเชีย  ความยิ่งใหญ่ของสายน้ำที่กระโจนบิดตัวปะทะแก่งหินน้อยใหญ่  จนเดือดพล่าน
กระจาย เป็นละอองไอน้ำแทรกตัวปกคลุมอยู่ตามแก่งหินแทบทุกอณูของบรรยากาศ
 
     น้ำตกหลี่ผี (ตาดสมพะมิด)    น้ำตกหลี่ผีตั้งอยู่ในเขตดอนคอน    ช่วงที่เหมาะสมแก่การเที่ยวชมคือเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน   เพราะคุณจะเห็นสายน้ำจำนวนมาก
ในแก่ง หลี่ผีที่ไหลถาโถมผ่านเนินหินโขดหินลงมาด้วยกำลังแรงแตกเป็นละอองสีขาวไปทั่วแก่งดูสวยงามตื่นตามาก 

     หลี่  เป็นภาษาลาว  หมายถึง  เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายลอบ  ส่วนคำว่า ผี  หมายถึงศพคนตาย   ซึ่งบริเวณน้ำตกหลี่ผีจะมีกระแสน้ำไหลบ่าตามพื้นที่ราบ
ผ่านแผ่นหิน  แล้วไหลตกลงมาตรงช่องซอกเขาที่แตกแยกออกจากัน  กระแสน้ำสีเขียวเข้มในหน้าแล้งหรือสีชาในฤดูฝนจะไหลบ่าตกลงมาเบื้องล่าง  จากนั้นไหลบ่าตกลงมา
เบื้องล่าง  จากนั้นจึงไหลไปตามรอยแยกของซอกเขาเป็นทางยาวหลายกิโลเมตร   จุดที่พบศพจำนวนมากคือบริเวณร่องหินของน้ำตกหลี่ผี  บริเวณนี้กระแสน้ำจะไหลมารวมตัว
กัน เป็นแอ่งขนาดใหญ่  จากนั้นน้ำจะวนไปมาแล้วจึงไหลตกลงไปด้านล่างซอกและหลืบหินแคบๆ  ทำให้ศพของทหารในสมัยสงครามอินโดจีนจำนวนมากลอยมาติดในหลี่
จับปลา  ชาวลาวจึงเรียกน้ำตกแห่งนี้ว่า  หลี่ผี    

     ตาดฟาน     ที่ตั้ง  ใช้ทางหลวงหมายเลข 23  เส้นทางไปปากซอง  มาถึงหลักกิโลเมตรที่ 38 มีทางแยกเข้าขวามือ   ตาดฟาน  เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในแขวงจำปาสัก  เรียกอีกชื่อว่า  น้ำตกดงหัวสาว   จุดเดินอยู่ตรงสายน้ำ  2  สาย ที่ไหลลงจากหน้าผาสูงราว 120 กิโลเมตรโดยสายน้ำทางซ้ายมือไหลมาจากห้วยผักกูด และทางขวามือเป็น
สายน้ำที่ไหลมาจากเขตอุทยานแห่งชาติดงหัวสาว  มีจุดชมวิวที่ตั้งอยู่คนละฟากเขากับตัวน้ำตกในระดับความสูงเท่าๆ กัน  จากตรงนี้สามารถชมวิวตัวน้ำตกในมุมสูง
ได้อย่างชัดเจน  และในยามเช้ายังเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามอีกด้วย 

     ตาดเยือง   ที่ตั้ง  ใช้ทางหลวงหมายเลข 23  เส้นทางไปปากซอง  มาถึงหลักกิโลเมตรที่ 40  มีทางแยกเข้าขวามือเข้าไปอีกประมาณ  1 กิโลเมตร    ตาดเยืองเป็นน้ำตก
ที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองปากซอง  คำว่าเยืองแปลว่าเลียงผา  ส่วนคำว่าฟานแปลว่าเก้ง  แม้จะเป็นน้ำตกขนาดกลางไม่สูงใหญ่เท่าตาดฟานก็ตาม  แต่มีข้อดีกว่า
คือคุณสามารถเข้าไปชมได้ใกล้ชิดถึงตัวน้ำตก   จุดเด่นน่าชมคืออยู่ที่สายน้ำสีขาวที่ไหลอาบมาตามหน้าผากระทบโขดหินแตกเป็นละอองสีขาวจัดกับสีดำเข้มของโขดหิน  ท่ามกลางบรรยากาศอันร่มรื่นและเป็นส่วนตัว

      ตาดผาส้วม
    ที่ตั้งมาตามทางหลวงหมายเลข 23  จนถึงบ้านห้วยแร่ประมาณกิโลเมตรที่ 21  เลี้ยวซ้ายมาตามทางหลวงหมายเลข 20 มาประมาณ  13 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่ตัวน้ำตก  คำว่า ส้วม  ภาษาลาวหมายถึง  ห้องนอนที่กั้นไว้สำหรับลูกสาวลูกเขยโดยเฉพาะ ส่วน ตาด แปลว่าลานหินที่เป็นชั้นๆ จุดเด่นของน
้ำตกต าดผาส้วมคือ  สายน้ำที่ไหลผ่านหินผาขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นแท่งๆ รูปร่างคล้ายห้องหอของคู่บ่าวสาวดูสวยงามมาก  นอกจากนี้ในอุทยานยังมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวม
เอาหมู่บ้านโบราณของหลายชนเผ่ามาจัดแสดงให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชม  เช่น  บ้านขอชาวกระต้าง  ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบๆ น้ำตกนี้  บ้านของชาวเผ่าอาลัก 
บ้านของชาวกระตู้ หอกวน   ที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของชาวเผ่าละแว  ภายในจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของชาวเผ่าให้ชมเป็นจำนวนมาก   และหอสูงของชาวละแวที่ใช้
เป็นที่สังเกตการณ์ภายในหมู่บ้าน  และที่น่าสนใจที่สุดคือบ้านพักของอุทยานที่ตกแต่งอย่างสวยงามลงตัว ด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น 

  ที่มาข้อมูลจากหนังสือ Trip

สนใจทริปเดินทางไปลาวใต้กับทริปดีดี ดอทคอม   อ่านรายละเอียดโปรแกรมและจองทริปได้ที่นี่ค่ะ
http://www.tripdeedee.com/trips_detail.php?id=46