เทศกาลและวันสำคัญ
เทศกาลและงานประเพณีต่างๆ ถือเป็นส่วนสำคัญในชีวิตคนบาหลี ทุกวัดจะมีงานฉลองทำบุญประจำปี (Odalan) อย่างน้อยปีละครั้ง โดยชาวลาหลีจะแต่งตัวแบบพื้นเมืองดั้งเดิมสวยงาม แล้วจัดเครื่องไหว้เครื่องบูชาไปวัดกันโดยฝ่ายหญิงจะเป็นคนทูนของไหว้ไว้บนศีรษะเนื่องจากมีวัดหลายร้อยวัดในบาหลี จึงไม่แน่ใจว่าในช่วงที่ไปเยือน ไม่ว่าจะเป็นช่วงไหนของปี ก็จะมีงานฉลองทำบุญประจำปีของวัดใดวัดหนึ่งเสมอ
การกำหนดวันฉลองและเทศกาลต่างๆ ของบาหลีจะยึดปฏิทินตามจันทรคติ จึงทำให้วันสำคัญต่างๆไม่ตรงกับปฏิทินสากลในแต่ละปีควรสอบถามกันเป็นปีๆ ไปสามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์การท่องเที่ยวบาหลี www.balitourismauthority.net
เทศกาลสำคัญๆ ได้แก่
วันขึ้นปีใหม่ฮินดู นีเยปิ(Nyepi) เป็นวันที่ชาวบาหลีจะ เข้าเงียบ ไม่มีการประกอบกิจกรรมใดๆทั้งสิ้น ไม่มีการเดินทางคมนาคมไม่มีการก่อไฟหุงอาหาร และไม่มีการละเล่นบันเทิงสนุกสนามใดๆ โดยจะมีการทำบุญบูชาเทพต่างๆ กันตั้งแต่วันก่อนหน้า รวมทั้งมีการประกอบพิธีไล่สิ่งชั่วร้ายออกไปจากบ้านที่อยู่อาศัยด้วย
วันกาลุงกัน (Galungun) เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่ธรรมะเอาชนะอธรรมได้ จะมีการตั้งเสาไม้ไผ่สูงตกแต่งด้วยทางมะพร้าวสานเป็นรูปต่างๆ สวยงามไว้หน้าบ้าน ตั้งศาลเพียงตาวางเครื่องไหว้สักการะสีสดใส ทั้งขนม ดอกไม้และผลไม้ที่ประตูบ้าน ให้บรรพบุรุษที่จะลงมาเยี่ยมจากสวรรค์ ช่วงเวลากาลุงกันจะนาน 10 วันมีงานฉลองและพิธีทุกวัน
วันคูนิงกัน (Kuningan) วันที่สิบของเทศกาล เป็นวันส่งวิญญาณบรรพบุรุษกลับสวรรค์จะมีการทำบุญให้ผู้ล่วงลับด้วย
วันสรัสวดี (Saraswat) เป็นวันฉลองเทวีแห่งความรู้และศิลปะ หรือ พระสุรัสวดีที่เรารู้จักกันนั่นเอง เป็นวันที่ทางวัดจะนำหนังสือธรรม ใบลานจารึก และคัมภีร์พระเวทย์มาทำพิธีสักการะบูชา
ส่วนงานพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนบาหลีคืองานเผาศพ จะเป็นงานที่ผู้ร่วมขบวนแห่งศพแต่งกายงดงามมีสีสัน บริเวณที่จัดงานเผาศพจะตกแต่งอย่างอลังการ และโลงบรรจุศพจะทำเป็นรูปสัตว์แต่งสีปิดทองสวยงาม ถ้าผู้ตายมีตำแหน่งหน้าที่หรือยศศักดิ์สูง โลงรูปสัตว์ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและหรูหรามากขึ้นตามไปด้วย
การแสดงและร่ายรำ
การร่ายรำและการแสดงต่างๆ มีบทบาทสำคัญในสังคมของชาวบาหลีมาเป็นเวลานานเป็นวิธีอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้คนได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ เช่น รามายณะ มหาภารตะ เป็นต้น
การร่ายรำที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และสามารถชมได้ทั่วไปในบาหลีมีดังนี้
เลกอง (Legong) เป็นการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าหญิงรังคสารืที่ถูกจับโดยกษัตริย์ลักษม์ทำให้พระเชษฐาของพระองค์คือเจ้าชายดาหาเสด็จมาช่วยและเกิดการต่อสู้กัน ลักษณะการรำงดงาม เชื่องช้า เนิบนาบ โดยใช้เด็กหญิง 3 คนเป็นตัวแสดง ซึ่งเด็กหญิงนั้นจะต้องมีหน้าตาสวยงามและถูกฝึกมาอย่างดี ผู้แสดงรำเลกองแบบดั้งเดิมนั้นจะต้องเป็นเด็กหญิงที่ยังไม่มีประจำเดือนเท่านั้น ในอดีตนางรำเลกองมักจะกลายเป็นชายาของเจ้าเมืองหรือราชวงศ์เมื่อศิลปินผิวขาวเข้ามาก็มักนิยมใช้นางรำเลกองเป็นแบบในการวาดภาพหรือปั้นหุ่น แล้วก็ได้เป็นภรรยาในที่สุด
|
|
|
|
ระบำเลกอง |
ระบำเลกอง |
ระบำเลกอง |
ระบำเลกอง |
|
|
|
|
ระบำเลกอง |
ระบำเลกอง |
ระบำเลกอง |
ระบำเลกอง |
|
|
|
|
ระบำเลกอง |
ระบำเลกอง |
ระบำเลกอง |
ระบำเลกอง |
|
|
|
|
ระบำเลกอง |
ระบำเลกอง |
ระบำเลกอง |
ระบำเลกอง |
คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ่
สังหยาง หรือ ระบำลุยไฟ (Sanghyang Trance Dance หรือ Fire Dance) เป็นการร่ายรำที่เกิดขึ้นด้วยการเชิญวิญญาณมาเข้าร่างของผู้รำ คล้ายการรำแม่ศรีของไทย โดยจะใช้เด็ก 2 คน ที่ไม่เคยเรียนรำมาก่อน แต่เมื่อร่างถูกเข้าทรงแล้วกลับร่ายรำได้และรำอย่างพร้อมเพรียงแม้จะปิดตายอยู่ ในบางครั้งจะเป็นระบำขี่ม้าลุยไฟการแสดงจะสิ้นสุดเมื่อนักบวชเป็นผู้ทำพิธีเชิญวิญญาณออกจากร่างทรง
ระบำบารอง (Barong & Rangda) เป็นการแสดงที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวเพราะมีการจัดให้ชมเป็นประจำ เรื่องราวจะเกี่ยวกับการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายดีและปีศาจบารอง ตัวแทนฝ่ายดีเป็นคนครึ่งสัตว์ ส่วนรังดาเป็นพ่อมดหมอผีฝ่ายอธรรม มีผู้แสดงประกอบเป็นสมุนของทั้งสองฝ่ายอีกหลายตัว ซึ่งจะต่อสู้กันจนฝ่ายธรรมะได้รับชัยชนะในที่สุด
|
|
|
|
ระบำบารอง |
ระบำบารอง |
ระบำบารอง |
ระบำบารอง |
|
|
|
|
ระบำบารอง |
ระบำบารอง |
ระบำบารอง |
ระบำบารอง |
|
|
|
|
ระบำบารอง |
ระบำบารอง |
ระบำบารอง |
ระบำบารอง |
|
|
|
|
ระบำบารอง |
ระบำบารอง |
ระบำบารอง |
ระบำบารอง |
คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ่
ระบำคะชัก หรือ ระบำลิง (Kecak) ระบำคะชักนี้เรียกได้ว่ามีชื่อเสียงที่สุดในบาหลี เป็นการตัดตอนมาจากรามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าเรื่องราวของพระรามกับพลวานรที่ตามไปช่วยนางสีดาจากราวันนา (หรือทศกัณฐ์) ใช้คนแสดงเป็นจำนวนมาก โดยผู้ที่แสดงเป็นพลลิงจะนุ่งผ้าตาหมากรุก เปลือยท่อนบน ทัดดอกชบาแดงข้างหูนั่งล้อมวงซ้อนๆกัน 4-5 ชั้น และโบกมือขึ้นลงโยกตัวไปมา ปากก็ร้องคะชัก คะชัก เป็นเสียงสูงต่ำแทนเครื่องดนตรีประกอบ โดยตัวเอกต่างๆจะเดินร่ายรำไปมาในวงตรงกลางระหว่างพลลิงเหล่านั้น
|
|
|
|
|
ระบำคะชัก |
ระบำคะชัก |
ระบำคะชัก |
|
|
|
|
ระบำคะชัก |
ระบำคะชัก |
ระบำคะชัก |
ระบำคะชัก |
|
|
|
|
ระบำคะชัก |
ระบำคะชัก |
ระบำคะชัก |
ระบำคะชัก |
|
|
|
|
ระบำคะชัก |
ระบำคะชัก |
ระบำคะชัก |
ระบำคะชัก |
คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ่
บาริส (Baris) เป็นการแสดงเกี่ยวกับการเตรียมตัวออกศึก ซึ่งใช้คนแสดงเป็นผู้ชายประมาณ 1-5 คนขึ้นไป ผู้รำจะแสดงออกถึงความรู้สึกขณะทำสงคราม เช่นโกรธ ฮึกเหิม หวาดหวั่น เศร้าสร้อย เป็นต้น ผู้ที่จะแสดงได้ต้องมีความสามารถสูง เนื่องจากต้องใช้สีหน้าท่าทางแสดงออกมาเพื่อสื่อให้ผู้ชมรู้สึกตามไปด้วย
ระบำผึ้ง (Oleg Tambulilingan) เป็นระบำที่สวยงาม สนุกสนาน ด้วยเป็นเรื่องราวของการเกี้ยวพาราสีของผึ้งหนุ่มสาวในสวนรักผู้แสดงระบำผึ้งฝ่ายหญิงจะต้องมีความสามารถมาก ทั้งรำสวยและแสดงออกอย่างยั่วยวนด้วยท่าทางและดวงตา
ระบำหน้ากาก (Topeng Dance) ที่บาหลีหน้ากากถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่สวมหน้ากากจะต้องสวมวิญญาณของหน้ากากนั้นๆ จะไม่มีบลพูดแต่แสดงออกด้วยท่าทาง คือใช้มือ ศรีษะ และร่างกาย มักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพนิยายหรือตอนใดตอนหนึ่งจากประวัติศาสตร์
เคบยาร์ (Kebyar) คือการร่ายรำผสมกับการเล่นดนตรี ผู้รำจะนั่งรำกับพื้น โดยมีฆ้องรางอยู่ตรงหน้า ทำการรำและเล่นฆ้องสลับกันไป โดยใช้พัดเป็นเครื่องประกอบการร่ายรำที่ใช้มือแสดงกับการเล่นตาที่เห็นได้อย่างเด่นชัด ผู้รำมักจะเป็นผู้ชาย
วายังกุลิต (Wayang Kulit) เป็นการแสดงหุ่นเชิดฉายเงาบนจอคล้ายหนังตะลุง ประกอบกับเครื่องดนตรี 4 ชิ้น เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาของชาวชวาและชาวบาหลี ใช้หุ่นกว่า 60 ตัวผู้ที่พากย์ขะต้องมีความชำนาญในการใช้ภาษาเนื่องจากฝ่ายดีจะใช้ภาษากาวีซึ่งเป็นภาษาโบราณในขฯที่ฝ่ายผู้ร้ายจะใช้ภาษาบาหลีระดับง่ายๆ ดังนั้นผู้พากย์จึงต้องมีความสามารถใช้ได้ทั้ง 2 ภาษา
กาเมลัน (Gamelan) วงดนตรีพื้นเมืองของบาหลี เครื่องดนตรีส่วนใหญ่เป็นเครื่องตีที่ทำจากทองเหลือง นักดนตรีมักเป็นผู้ชายล้วนแต่เป็นผู้หญิงล้วนก็มี โดยชายและหญิงจะไม่เล่นดนตรีร่วมวงกัน
ตามโรงแรมชั้นหนึ่งจะมีการแสดงระบำต่างๆให้ชม นอกจากนั้นตามย่านท่องเที่ยวโดยเฉพาะอูบุด จะมีการจัดแสดงระบำต่างๆ ที่วังประจำเมืองหมุนเวียนกันไป โดยต้องเสียค่าเข้าชมด้วย สอบถามวัน เวลา และสถานที่จัดแสดงที่แน่นอนได้จากโรงแรมที่พักหรือสำนักงานท่องเที่ยว
ศิลปะ
ศิลปะของบาหลีเกิดจากการหลอกรวมกันของวัฒนธรรมประเพณีอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นจีน พุทธ อืนเดีย ฮินดู ชวา และโลกตะวันตก รวมกับวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง กลายเป็นศิลปะแบบผสมผสาน ในสมัยก่อนนักวาดหรือช่างแกะสลักจะทำงานให้กับพระ นักบวช และชนชั้นปกครอง สำหรับใช้ประดับตกแต่งวัดหรือพระราชวังเท่านั้น และมักจะทำงานในหมู่บ้านไม่ได้ออกแสดงที่ใด จนกระทั่งเมื่อมีศิลปินชาวตะวันตกเข้ามา ศิลปินชาวบหลีจึงพัฒนางานของตนเองขึ้นให้เป็นที่รู้จัก
ภาพวาด
ภาพวาดแบบดั้งเดิมของชาวบาหลีจากหมู่บ้านกามาสัน (Kamasan ใกล้กับเมืองกลุงกุง) นักวาดภาพหรือที่เรียกว่า สังกิง (Sangging) จะรวมตัวอยู่ในแหล่งเดียวกันนี้ และวาดภาพเพื่อตกแต่งปราสาทราชวังหรือวัดตามการจ้าง จึงทำให้ศิลปะการวาดภาพแบบกามาสันเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางไปทั่วบาหลี
สไตล์การวาดภาพของนักวาดแห่งหมู่บ้านกามาสัน เป็นศิลปะในสไตล์วายังของชวะตะวันออกซึ่งเป็นภาพในลักษณะ 2 มิติ ส่วนมากจะเป็นรูปคนครึ่งตัว (portrait) ภาพวาดอีกแบบหนึ่งที่พบได้ทั่วไปคือ ลังเส (Langse) เป็นการวาดภาพลงบนผืนผ้าที่มีความยาวหลายเมตร แต่มีความกว้างประมาณ 30 เซ็นติเมตร มักจะถ่ายทอดเป็นเรื่องราวต่างๆ โดยใช้การติดที่ฝาผนังวัดรวมทั้งในวังด้วย
การเปลี่ยนแปลงสไตล์ในการวาดภาพของชาวบาหลีเริ่มขึ้นเมื่อต้นคริสตศตวรรษที่ 20 โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก ทำให้นักวาดลดสไตล์ดั้งเดิมของตัวเองลง และผสมผสานเอาสไตล์ตะวันตกไว้ด้วย เกิดแนวทางการวาดภาพของกลุ่มปิตามหา (Pita Maha) ในอูบุด ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งแกลเลอรี่และที่ชุมนุมของจิตรกรในปัจจุบัน
งานหินและแกะสลัก
ถึงแม้ว่างานหินแกะสลักส่วนมากจะใช้ในการตกแต่งวัดหรือวังเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้ตกแต่งสถานที่อื่นๆด้วยและกลายเป็นการตกแต่งที่เรียกว่า บาหลีสไตล์ การแกะสลักหินเพื่อใช้วัดหรือวังนั้นจะมีความแตกต่างกับการแกะสลักเพื่อใช้ตกแต่งอาคารสถานที่ รูปสลักแต่ละชิ้นจะสื่อความหมายต่างกันไป หากต้องการชมความงามของหินแกะสลักจากยุคก่อน สามารถหาดูได้ที่วัดซึ่งอยู่ทางตคอนเหนือของเกาะเพราะจะสวยกว่าวัดที่อยู่ในแถบอื่นๆ เช่น ปุระเมดูวา (Pura Meduwa) ที่เมืองกุบูตัมบาหาน ปุระดาเล็ม (Pura Dalem) ที่เมืองจักกะราชา และปุระเบจิ (Pura Beji) ใกล้กับเมืองสิงคราชา เป็นต้น ช่างแกะสลักหินที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ I Gusti Nyoman Lempad ชมงานแกะสลักของเขาได้ที่ปุระชาเก็นอากุง (Pura Sagen Agung) ในเมืองอูบุด
งานไม้แกะสลัก
ในทำนองเดียวกับงานหินแกะสลัก ในสมัยก่อนงานไม้แกะสลักจะพบที่วัดหรือวัง แต่ในปัจจุบันได้กลายมาเป็นสินค้าที่คนทั่วไปหาซื้อไปตกแต่งอาคารสถานที่ แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมๆ อยู่บ้าง เช่น จะนำงานไม้แกะสลักรูปเทวรูปไปประดับที่ประตูทางเข้าเพื่อเป็นการป้องกันปีศาจร้าย เป็นต้น
ผ้า
สินค้าพื้นเมืองขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของบาหลีก็คือผ้า สาวชาวบาหลีสามารถทอผ้ากันได้เกือบทุกคน เนื่องจากหน้าที่หนึ่งของแม่ชาวบาหลีก็คือสอนลูกสาวให้ทอผ้า ซึ่งเป็นประเพณีสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน
ผ้าพื้นเมืองของบาหลีมีหลายลักษณะคือ
อิกัต (Ikat) เป็นผ้าใบแบบดั้งเดิมของชาวบาหลี ซึ่งมีกรรมวิธีการทอแบบโบราณ ใช้นุ่งเป็นผ้าโสร่งตัวนอก หรือชุดที่ใส่ในพิธีกรรมสำคัญเท่านั้น
เกริงซิง (Geringsing) เป็นผ้าอิกัตชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงว่าเทงกะยัย เป็นผ้าที่ทอยากและมีราคาสูงมาก
ซองเก็ต(Songket) เป็นวิธีการทอผ้าซึ่งใช้ทอง หรือ เงินมาทอกับผ้าธรรมดา หรือ อิกัตมีความยาวประมาณ 2 เมตร ผู้ชายใช้นุ่งเป็นโสร่งตัวนอก และผู้หญิงมักใช้เป็นผ้าคลุมเมื่อมีงานเลิ้ยงฉลองหรืองานพิธีรสำคัญ
ปราดา (Prada) คือผ้าเขียนลายทองในสมัยก่อนจะใช้ทองจริงๆ แต่ปัจจุบันจะใช้สีทองวิทยาศาสตร์วาดลงบนผ้าโพลี เอสเตอร์ มักใช้ทำพัด ร่ม หรือ ตกแต่งอาคารสถานที่ และใช้ทำเครื่องแต่งกายของนักแสดงเต้นระบำ หาซื้อผ้าปราดาได้ที่ตลาดสินค้าหัตถกรรมสุขะวาตี
เปลังกิ (Pelangi) เรียกง่ายๆ เป็นภาษาไทยก็คือผ้ามัดย้อมนั่นเอง ผ้ามัดย้อมที่นี่จะมีลวดลายสวยงามสไตล์บาหลี และมักจะทำจากผ้าไหม
บาติก (Batik) ผ้าที่เขียนลายด้วยขี้ผึ้งเหลวแล้วนำไปย้อมสีให้เกิดเป็นลาย นักท่องเที่ยวมักมาหาซื้อผ้าบาติกที่บาหลี ซึ่งความเป็นจริงแล้วผ้าบาติกมีต้นกำเนิดมาจากชวา และส่วนใหญ่ทำมาจากโรงงานนอกบาหลี
ซุมบ้า (Sumba) ผ้าทอลวดลายแบบพรีมิทิฟจากเกาะซุมบ้า ของแท้จะมีราคาสูงแต่มีของทำเลียนแบบในบาหลีเป็นจำนวนมากและราคาย่อมเยากว่า
แหล่งข้อมูลจาก
- หนังสือคู่มือนักเดินทางฉบับพกพา บาหลี หนังสือในเครือ เที่ยวรอบโลก
|