ข้อมูลกระบี่และรูปสวยๆจากกระบี่ |
ข้อมูลอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี |
ข้อมูลทั่วไป - อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี - ภาพเขียนโบราณ ลำธารมรกต อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ครอบคลุมพื้นที่ 65,000 ไร่ หรือ 104 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่อำเภออ่าวลึก และ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าดงดิบที่มีธารน้ำไหลลอดภูเขา เหมาะสำหรับการพักผ่อน เล่นน้ำ พบแหล่งศิลปะ ถ้ำจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นภาพเขียนสีโบราณที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรม
ครั้นต่อมาปี พ.ศ. 2498 ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ได้เสนอกรมป่าไม้ขอให้จัดตั้งธารโบกขรณีเป็นสวน รุกขชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ได้รับในหลักการและดำเนินการตั้งแต่นั้นมา โดยอยู่ในความดูแลของกองบำรุง และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งจากจังหวัดพังงามาทรงประทับ ณ สวนรุกขชาติธารโบกขรณี ทั้งสองพระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยที่หินปากถ้ำน้ำลอดด้านขวามือ และได้ทรงปลูกต้นศรีตรังไว้ในสวนรุกขชาติแห่งนี้ด้วย จังหวัดกระบี่ ได้มีหนังสือที่ กษ 0009/11446 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2527 ส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นของ นายประพันธ์ อินทรมณี ผู้ช่วยป่าไม้จังหวัดกระบี่ และนายสมจิตร สภาวรัตนภิญโญ นักวิชาการป่าไม้ 4 และหนังสืออำเภออ่าวลึก ที่ได้ตรวจสอบเกี่ยวกับปัญหาในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ โดยได้เสนอความเห็นว่า สวนรุกขชาติธารโบกขรณีประกอบด้วยทิวทัศน์สวยงามในบริเวณพื้นที่ป่าและภูเขา ใกล้เคียงกับสวนรุกขชาติ ยังมีความสวยงามตามธรรมชาติหลายแห่ง มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าแหล่งต้นน้ำลำธาร เห็นสมควรอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 1516/2527 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2527 ให้ นายสมจิตร สภาวรัตนภิญโญ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติม ผลการสำรวจรายงานตามหนังสือลงวันที่ 5 ธันวาคม 2527 ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีจุดเด่นและธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง การคมนาคมสะดวก เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 336/2528 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2528 ให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่สวนรุกขชาติธารโบกขรณีและพื้นที่ป่าบริเวณใกล้ เคียงในท้องที่จังหวัดกระบี่เป็นอุทยานแห่งชาติโดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ซึ่งอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีได้ทำการสำรวจพื้นที่ป่าเพิ่มเติม โดยมีหนังสือที่ กษ 0713(ธน)/51 ลงวันที่ 10 กันยายน 2529 และที่ กษ 0713(ธน)/15 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2530 เห็นสมควรกำหนดพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยว และสมควรที่จะอนุรักษ์เป็นสมบัติของชาติตลอดไป ผนวกเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2531 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2531 เห็นชอบในหลักการที่จะให้กำหนดพื้นที่ธารโบกขรณีและพื้นที่ใกล้เคียงเป็น อุทยานแห่งชาติ และอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีได้มีหนังสือที่ กษ 0718(ธน)/27 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2531 เสนอให้ผนวกพื้นที่หมู่เกาะเหลาบิเละ (เกาะห้อง) เข้ากับพื้นที่อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีด้วย อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณพื้นที่ป่าปากลาวและป่าคลองบากัน ป่าคลองกาโหรด และป่าคลองหิน พื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง และบริเวณหมู่เกาะเหลาบิเละ ในท้องที่ตำบลอ่าวลึกใต้ ตำบลอ่าวลึกเหนือ ตำบลแหลมสัก ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก และตำบลเขาทอง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ 104 ตารางกิโลเมตร ซึ่งได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 67 ก ลงวันที่ 30 กันยายน 2541 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 86 ของประเทศ ลักษณะภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี บางส่วนมีสภาพพื้นที่เป็นเขาสูงชันที่ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่บางส่วนมีลักษณะแบบคาร์ส (Karst Topography) มีบ่อหรือพื้นยุบตัวของหินเบื้องล่าง (sink hole) มีลักษณะของธารน้ำใต้ดิน สภาพพื้นที่เป็นแบบลูกคลื่น ทั้งลอนลาดและลอนชัน มีเขาโดดเตี้ย (monadnock) ของหินปูน ซึ่งมีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันกระจายอยู่ทั่วไป ประกอบด้วย ถ้ำสระยวนทอง ควนสอง เขาลูกบ้า ถ้ำทะลุฟ้า เขาลอดใต้ เขาช่องลม เขานอก เขาตากรด เขาอ่าวน้ำ เขาอ่าวม่วง เขาใสโต๊ะดำ เขาใหญ่ปากช่องลาด และพื้นที่บางส่วนเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามันประกอบด้วย เกาะเหลาบิเละ (เกาะห้อง) เกาะเหลากา เกาะเหลาเหรียม เกาะปากกะ เกาะเหลาลาดิง เกาะยะลาฮูดัง เกาะเหลาบุโล๊ะ (เกาะผักเบี้ย) เกาะกามิด เกาะปาหุเสีย เกาะฮันตู เกาะจาบัง เกาะเมย เกาะกาโรส เกาะแตก เกาะมีไลย เกาะอ่าวช้างตาย เกาะเลาดัว เกาะรงมารง (เกาะขลุ่ย) เกาะแหลมค้างคาว เกาะแหลมทะลุ เกาะแหลมตุโดด เกาะช่องลาดใต้ และเกาะฮาม พื้นที่อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีเป็น พื้นที่ต้นน้ำลำธารในพื้นที่อำเภออ่าวลึกหลายสาย ที่สำคัญได้แก่ คลองมะรุย คลองกลาง คลองน้ำตก คลองอ่าวลึก และคลองกาโรส ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมในเขตร้อน มี 2 ฤดู คือฤดูฝนและฤดูร้อน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ฝนแปดแดดสี่ หมายถึง ฤดูฝน 8 เดือน ฤดูร้อน 4 เดือน พืชพรรณและสัตว์ป่า สังคมพืชในเขตอุทยานแห่งชาติสามารถจำแนกออกได้เป็น แหล่งท่องเที่ยว ด้านธรรมชาติ เกาะเหลาบิเละ เกาะเหลาบิเละ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะห้อง เป็นเกาะที่มีทัศนียภาพสวยงามมาก ล้อมรอบด้วยน้ำทะเลสีคราม มีกัลปังหาและปะการังรอบเกาะ โดยมีจุดที่น่าสนใจได้แก่ อ่าวบิเละ เป็นอ่าวที่มีหาดทรายโค้งเป็นรูปนกบิน ทรายละเอียดขาวสะอาด น้ำทะเลใส มีฝูงปลาเล็กๆ แหวกว่ายให้เห็นอยู่ทั่วไป ชายทะเลเหมาะแก่การเล่นน้ำิ อ่าวห้อง เปรียบเสมือนสระน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ผนังเป็นหน้าผาชันโดยรอบ ลักษณะคล้ายห้อง มีประตูทางเข้าเพียงทางเดียว กว้างประมาณ 10 เมตร สามารถนำเรือเข้าไปได้ พื้นเป็นทรายขาวสะอาดราบเรียบเสมอกัน น้ำตื้นและใสมาก เหมาะแก่การเล่นน้ำ และยังเป็นที่หลบคลื่นลมของชาวประมงเมื่อมีพายุพัดผ่าน การเดินทางไปเกาะห้อง คือ เดินทางไปตามถนนอ่าวลึก-กระบี่ แยกไปตามทางเข้าหาดนพรัตน์ธารา แล้วเลยไปแหลมป่อง ลงเรือที่ทับแขกรีสอร์ท นั่งเรือประมาณ 30 นาที นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวประเภทเกาะที่น่าสนใจอีก เช่น หมู่เกาะช่องลาด เกาะกาโรส และเกาะผักเบี้ย ถ้ำลอด อยู่ใกล้กับถ้ำผีหัวโตประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นภูเขาที่มีคลองลอดผ่าน มีโพรงถ้ำลักษณะเป็นอุโมงค์ ตรงกลางเป็นช่องกว้างแล่นเรือลอดผ่านไปมาได้ ระยะทางประมาณ 150 เมตร สวยงามด้วยหินงอกหินย้อยเรียงรายตลอดแนวอุโมงค์ การเดินทางไปถ้ำลอด คือ ไปตามถนนอ่าวลึก-แหลมสัก ประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปท่าเทียบเรือบ่อท่อ อีกประมาณ 2 กิโลเมตร นั่งเรืออีกประมาณ 10 นาที ถึงถ้ำผีหัวโต-ถ้ำลอด อยู่ห่างจากธารโบกขรณี ประมาณ 7 กิโลเมตร ธารโบกขรณี ตั้งอยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นธารน้ำลอดออกมาจากถ้ำ ไหลลดหลั่นเป็นชั้นๆ เป็นแอ่งกว้าง น้ำใสสะอาด สามารถลงเล่นน้ำได้ มีฝูงปลาหลากชนิดแหวกว่ายให้เห็นตลอดเวลา บรรยากาศโดยรอบร่มรื่นและอุดมไปด้วยไม้ป่านานาชนิด ออกดอกสะพรั่งสวยงามตามฤดูกาล ด้านประวัติศาสตร์ ถ้ำผีหัวโต ถ้ำผีหัวโต เป็นถ้ำในภูเขาที่มีห้วงน้ำล้อมรอบ ภายในถ้ำแบ่งได้เป็น 2 คูหาขนาดใหญ่ มีภาพเขียนศิลปะดั้งเดิม เขียนด้วยสีแดง ดำ เหลือง น้ำตาล น้ำตาลเหลือง น้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเข้ม สามารถแบ่งภาพเขียนตามบริเวณที่พบได้ 23 กลุ่ม จำนวน 238 ภาพ สภาพของถ้ำโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงสว่างส่องเข้าไปถึงสามารถชมภาพเขียนได้ชัดเจน ภายในถ้ำยังมีเปลือกหอยแครงจำนวนมากทับถมกันอยู่จนกลายเป็นหิน นอกจากจะพบภาพเขียนศิลปะดั้งเดิมที่ถ้ำ ผีหัวโต ยังสามารถพบภาพเขียนได้ที่แหลมไฟไหม้ แหลมถ้ำเจ้ารี และแหลมท้ายแรด ซึ่งแต่ละแห่งก็มีความสวยงามตามธรรมชาติแตกต่างกันไปด้วย การเดินทาง รถยนต์ จากกระบี่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ไปอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ถึงสี่แยกอ่าวลึก แล้วเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4039 เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากตัวเมืองกระบี่ ประมาณ 48 กิโลเมตร เครื่องบิน การเดินทางโดยเครื่องบิน เที่ยวบินกรุงเทพฯกระบี่ จากท่าอากาศยานดอนเมือง สู่ท่าอากาศยานกระบี่ แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์หรือรถโดยสารประจำทางถึงสถานีขนส่งจังหวัดกระบี่ ไปยังอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ซึ่งมีรถประจำทางหลายสายให้นักท่องเที่ยวเลือกใช้บริการ เช่น รถโดยสารธรรมดา อัตราค่าโดยสาร ราคา 20 บาท ปรับอากาศ 30 บาท รถตู้ประจำทางปรับอากาศ ราคา 30 บาท จากสี่แยกอ่าวลึกไปอุทยานแห่งชาติ ระยะทาง 2 กิโลเมตร ค่าโดยสารรถ 2 แถว หรือรถจักรยานยนต์รับจ้าง ราคา 10 บาท รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารประจำทาง เส้นทาง กรุงเทพ-กระบี่ ระยะทาง 814 กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารสำหรับรถธรรมดา ราคา 300 บาท รถปรับอากาศ 450 บาท ปรับอากาศชั้น 1 486 บาท 24 ที่นั่ง 650 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง โดยซื้อตั๋วลงที่สี่แยกอ่างลึกและโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง หรือรถยนต์รับจ้างอ่าวลึกเหนือ-อ่าวลึกใต้ ไปยังอุทยานฯ สถานที่ติดต่อ อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ข้อมูล www.dnp.go.th
|
|
||||||
|