รัฐฉาน (Shan State)
รัฐฉานนั้นเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายในตัวเองเป็นอย่างมาก จัดเป็นภูมิภาคของกลุ่มชนชาวไทใหญ่ ที่ตั้งรกรากอยู่ในดินแดนแห่งนี้มายาวนานแล้ว ความน่าสนใจของรัฐฉานนั้นมีทั้งภูมิประเทศที่สวยงาม วิถีชีวิต ประเพณีของผู้คนที่ยังคงเรียบง่าย และคงความเป็นธรรมชาติไว้อย่างเป็นเอกลักษณ์
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของรัฐฉาน
เมืองตองยี (Taunggyi)
ตองยีนั้นคือเมืองหลวงของรัฐฉานภาคใต้ตั้งอยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 140 กิโลเมตร ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร ทำให้ตองยีมีอากาศที่ค่อนข้างเย็นสบายตลอดทั้งปี เมืองตองยีมีสถานที่พักตากอากาศแบบรีสอร์ทที่น่าสนใจอยู่มากมาย สิ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของเมืองก็คือ เมืองตองยีเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมอันหลากหลายผสมผสานกันอยู่มากมาย ทั้งชาวพม่า ชาวไทใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง ชาวว้า ฯลฯ
ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆที่เป็นที่นิยมได้แก่ พิพิธภัณฑ์ตองยี ซึ่งจัดแสดงความเป็นมาของวิถีชีวิตผู้คนเมืองนี้ได้อย่างน่าสนใจ และอีกสถานที่หนึ่งที่เหมาะมากสำหรับผู้ที่ต้องการจับจ่ายใช้สอยคือ ตลาดเฮโฮ (Heho Market) เป็นตลาดที่เปิดในช่วงกลางคืน ซึ่งจะคล้ายกับไนท์บาซ่า จังหวัดเชียงใหม่
|
|
|
|
เมืองตองยี |
|
เมืองตองยี |
เมืองตองยี |
|
|
|
|
เมืองตองยี |
เมืองตองยี |
เมืองตองยี |
เมืองตองยี |
ทะเลสาบอินเล (Inle Lake)
ทะเลสาบแห่งนี้อยู่ท่ามกลางหุบเขาที่สวยงามของรัฐฉาน อยู่ห่างจากเมืองตองยีประมาณ 25 กิโลเมตร เหมาะแก่การมาเที่ยวชมเพื่อศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพม่าที่เรียกได้ว่ากลมกลืนกับธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง ทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่อาศัยของกลุ่มชนที่เรียกตนเองว่า ชาวอินทา (Intha) ชนเผ่านี้อาศัยอยู่ในทะเลสาบอินเลมานานนับร้อยปีแล้ว โดยใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางการทำเกษตรบนเกาะวัชพืชที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเองกลางลำน้ำในทะเลสาบ
การทำประมงในทะเลสาบที่เป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะวิธีการหาปลานั้น เรียกได้ว่าไม่มีชาวประมงที่ใดในโลกจะสามารถเลียนแบบการพายเรือด้วยเท้าของพวกเขาได้ นี่คือหนึ่งในสถานที่มหัศจรรย์ที่ควรไปเยี่ยมเยือน ส่วนในเรื่องของที่พักนั้น จัดได้ว่ามีอยู่หลากหลายมาก
เนื่องมาจากบรรยากาศที่ค่อนข้างจะเย็นสบายและทัศนียภาพทะเลสาบที่สวยงามมาก ทำให้มีบรรดารีสอร์ทต่างๆ ก่อสร้างขึ้นมากมายบริเวณโดยรอบ
|
|
|
|
บินระหว่างเมืองไปอินเล |
รถที่ใช้รับจากสนามบิน |
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
|
|
|
|
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
|
|
|
|
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
|
|
|
|
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
|
|
|
|
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
|
|
|
|
ทะเลสาบอินเล |
ทะเลสาบอินเล |
ห้องพักที่ทะเลสาบอินเล |
ห้องพักที่ทะเลสาบอินเล |
|
|
|
|
รีสอร์ทที่ทะเลสาบอินเล |
รีสอร์ทที่ทะเลสาบ |
บรรยากาศยามเย็นที่รีสอร์ทที่อินเล |
อาหารเช้าที่รีสอร์ท |
|
|
|
|
ร้านอาหารที่ทะเลสาบอินเล |
อาหารที่ทะเลสาบอินเล |
ก้านบัวที่นำมาทำผ้าใยบัว |
ก้านบัวที่นำมาทำผ้าใยบัว |
|
|
|
|
ใยบัวที่นำมาทำผ้าใยบัว |
|
เตรียมด้ายสำหรับทอผ้า |
สีผสมด้าย |
|
|
|
|
ผ้าใยบัว |
|
เณรที่วัดเก่าแก่ที่ตองยี |
เณรที่วัดเก่าแก่ที่ตองยี |
|
|
|
|
วัดเก่าแก่ที่ตองยี |
|
วัดเก่าแก่ที่ตองยี |
วัดเก่าแก่ที่ตองยี |
พระบัวเข็ม ที่ วัดผ่องดออู
พระบัวเข็ม ลักษณะสำคัญนั้น เป็นพระที่แกะขึ้นจากกิ่งไม้พระศรีมหาโพธิ์ ลงรักปิดทองเป็นรูปพระเถระนั่งก้มหน้ามีใบบัวคลุมศีรษะ และมีเข็มหมุดปักอยู่ตามตัวหลายแห่ง นั่งอยู่บนฐานดอกบัวหงาย ดอกบัวคว่ำรองรับ เมื่อหงายใต้ฐานดูจะพบลายลักษณ์ปั้นทรงนูนต่ำรูปดอกบัวใบบัวและรูปปลา
ที่เรียกว่า พระบัวเข็ม คือ รูปพระอุปคุตเถระเรื่องราวของพระบัวเข็มไม่ค่อยปรากฏเป็นที่ทราบกันโดยทั่ว ไปในเมืองไทย เหมือนพระพุทธรูปองค์อื่นๆ เพราะพระบัวเข็มเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทยเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ เพราะเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวช ทรงสนิทสนมกับพระภิกษุชาวมอญมาก โดยทรงศึกษาประวัติพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัย จากพระภิกษุชาวมอญทรงแตกฉานในพระธรรมวินัยทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และด้วยการที่ทรงติดต่อคุ้นเคยกับพระภิกษุชาวมอญมาโดยตลอด
เมื่อพระ ภิกษุชาวมอญเข้าเฝ้าที่วัดบวรนิเวศฯ ครั้งใด ก็มักนำพระบัวเข็มเข้ามาถวายอยู่เนืองๆ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบประวัติความเป็นมาของพระบัวเข็ม มากกว่าบุคคลใดในสมัยนั้น จนถึงทรงยอมรับพระบัวเข็มเข้าในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ (พิธีขอฝน) พระบัวเข็มนี้ถือกันว่าเป็นพระที่มีความศักดิ์สิทธิ์ อภินิหาร ในทางชนะศัตรูหมู่มาร และในทางบังเกิดความอุดมสมบูรณ์ ลาภสักการะ ความร่ำรวยอย่างยิ่งแก่ผู้เคารพบูชาซึ่งรูปลักษณะการปฏิบัติบูชาก็แปลกแตก ต่างจากพระอื่น
การสร้างรูปเคารพของพระบัวเข็มนั้นมีรูปลักษณะที่แตก ต่างกันอยู่มากตามแต่ ผู้สร้างจะคิดประดิษฐ์รูปลักษณะตามประวัติแล้ว จัดสร้างขึ้นในอากัปกิริยาตามอิทธิปาฏิหาริย์ของพระอุปคุตเหลือที่จะพรรณนา ได้ เช่นเดียวกับการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ทั่วไปเหมือนกัน เท่าที่สังเกตพระบัวเข็มในประเทศไทย แบ่งออกได้ 2 แบบ คือแบบมอญแบบหนึ่ง และแบบพม่าแบบหนึ่ง พระบัวเข็มทั้งสองแบบนี้คงอาศัยรูปแบบของพระบัวเข็มในอินเดียเป็นหลักสำคัญ แต่มาแก้ไขเปลี่ยนแปลงขึ้นตามความนิยมในประเทศมอญและพม่า
พระบัว เข็ม เป็นหนึ่งในห้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวพม่าที่ชาวพุทธนิยมเดินทางไปกราบไหว้ ขอพร ประดิษฐานอยู่ที่วัดผ่องดออู บริเวณริมทะเลสาบอินเล ประเทศพม่า ชาวพุทธไทยไปกราบไหว้ขอพรแล้วประสบความสำเร็จ จึงขออนุญาตทางวัดนี้ เพื่อสร้างองค์พระบัวเข็มจำลองมาประดิษฐานที่เมืองไทย
ตามความเชื่อ ของชาวพม่า การสร้างพระบัวเข็มจำลอง จะต้องทำจากต้นโพธิ์ที่มีอายุ 100 ปี ขึ้นไป ซึ่งยืนต้นแห้งเองไปตามธรรมชาติ เมื่อสร้างเสร็จจะนำพระบัวเข็ม ประดิษฐานบนเรือการะเวก ซึ่งมีรูปร่างเหมือนนกการะเวก ล่องเรือไปกลางทะเลสาบอินเล โดยเลือกวันพระขึ้น 15 ค่ำ ประกอบพิธีบวงสรวงเทพยดา พุทธาภิเษก ซึ่งมีทั้งพระสงฆ์พม่าและพระสงฆ์ไทย เจริญพระพุทธมนต์ และเจริญจิตตภาวนา
ไพศาล คุนผลิน และญาติธรรม พร้อมผู้บริหาร บริษัทไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด เดินทางไปประเทศพม่า มีจิตศรัทธาสร้าง พระบัวเข็ม ชนะมาร บันดาลโชค พร้อมประกอบพิธีพุทธาภิเษก แล้วนำมาถวายวัดเทวราชกุญชร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 โดย พระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนา พุทธาภิเษกใหญ่อีกครั้ง และนำพระบัวเข็มประดิษฐานถาวรไว้ที่มณฑปจัตุรมุข วัดเทวราชกุญชร ให้สาธุชนได้สักการบูชา เพื่อความสิริมงคล มีชัยชนะศัตรูหมู่มาร และบังเกิดความอุดมสมบูรณ์ร่ำรวยด้วยลาภสักการะสืบไป
|
|
|
|
พระบัวเข็ม |
พระบัวเข็ม |
พระบัวเข็ม |
พระบัวเข็ม |
ข้อมูลและรูปวัดแมวกระโดดลอดห่วง |
|
|
|
|
วัดแมวกระโดดลอดห่วง |
วัดแมวกระโดดลอดห่วง |
วัดแมวกระโดดลอดห่วง |
วัดแมวกระโดดลอดห่วง |
|
|
|
|
วัดแมวกระโดดลอดห่วง |
วัดแมวกระโดดลอดห่วง |
วัดแมวกระโดดลอดห่วง |
วัดแมวกระโดดลอดห่วง |
รูปภาพโดย ทริปดีดี ดอทคอม
แหล่งข้อมูล - หนังสือคู่มือนักเดินทางฉบับพกพา เมียนมาร์ หนังสือในเครือ เที่ยวรอบโลก และวิกิพีเดีย |