|
|
|
|
เนปาล |
เนปาล |
ระบำเนปาล |
แนวเขาหิมาลัย |
|
|
|
|
เนปาล |
แนวเขาหิมาลัย |
แนวเขาหิมาลัย โพคารา |
เนปาล |
รูปโดย TripDeeDee.Com
ข้อมูลเนปาล
รู้จักเนปาล
เนปาลเป็นประเทศหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ในแง่ความหลากหลายทางด้านชีววิทยา อันเนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะเด่น คือ มีพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 60 เมตร ขึ้นไป จนถึงจุดสูงสุดของโลก คือ ยอดเขาเอเวอเรสต์ (8,848 เมตร) และยังมีสภาพภูมิอากาศที่ผันแปรแตกต่างกันไปทุกๆระยะ 150 กิโลเมตร ตั้งแต่ภูมิอากาศแบบเขตร้อนถึงแบบอาร์กติก สิ่งเหล่านี้ทำให้เนปาลมีระบบนิเวศที่น่าอัศจรรย์ ตั้งแต่เทือกเขาที่ยาวเป็นแนวซึ่งปกคลุมด้วยแมกไม้ ป่าเมืองร้อนที่อุดมไปด้วยสัตว์ป่ามากมาย แม่น้ำที่เชี่ยวกราก รวมถึงหุบเขาที่หนาวเย็น
นอกจากนี้เนปาลยังเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม เนื่องจากประเทศเนปาลเป็นแหล่งรวมผู้คนหลายเชื้อชาติและหลายชนเผ่าที่มีภาษาพูดและภาษาท้องถิ่นแตกต่างกันมากกว่า 70 ภาษา
เมืองหลวงคือ กรุงกาฐมาณฑุ
จำนวนประชากรประมาณ 27 ล้านคน (สถิติปี ค.ศ.2005)
นอกจากนี้ ประเทศเนปาลยังเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asian Association for Regional Cooperation/SAARC) ซึ่งประกอบด้วยเนปาล บังคลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส์ ปากีสถาน และศรีลังกา
ประชากร
ประกอบด้วยชาติพันธุ์ที่สำคัญ ได้แก่ พวกมองโกลอยด์ ซึ่งมาจากทิเบต สิกขิม และบริเวณภูเขาในแคว้นอัสสัมและเบงกอล ส่วนอีกพวกหนึ่งสืบเชื้อสายมาจากอินโดอารยันซึ่งอพยพมาจากที่ราบลุ่มทางตอนเหนือของอินเดีย
กลุ่มประชากร
ประเทศเนปาลมีประชากรที่ประกอบไปด้วยผู้คนต่างเชื้อชาติและต่างเผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างกัน มีวัฒนธรรม ภาษาพูด และภาษาท้องถิ่นที่หลากหลาย แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
- กลุ่มที่ได้รับการยกย่องและมีอำนาจมากที่สุดในสังคม ได้แก่ วรรณพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์
- กลุ่มที่สำคัญรองลงมาคือ ชาวเผ่าต่างๆที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในประเทศเนปาลได้แก่ เผ่าคุรุง (Gurung) และเผ่ามาคาร์(Magar) อาศัยอยู่ท่างทิศตะวันตกและทางตอนใต้ของที่ราบแนวเทือกเขาอรรณาปุรณะ หิมาชูริ และคเณศหิมัล เผ่าราย(Rai) เผ่าลิมบู(Limbu) และ เผ่าซูนูวาร์(Sunuwar) อาศัยตามเทือกเขา หุบเขาแนวที่ลาด และหมู่บ้านทางทิศตะวันออก เผ่าเชอร์ปา (Sherpa) และเผ่ากุรข่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย บนความสูงระดับ 4,570 เมตร เผ่าเนวาร์(Newar) ซึ่งเป็นเผ่าที่มีความสำคัญมาก อาศัยอยู่ในแถบเมือหลวงกาฐมาณฑุ นอกจากนี้ยังมีเผ่าตารุ (Tharu) เผ่ายาดาวา (Yadava) เผ่าซาตาร์(Satar) เผ่าราชบันชิ (Rajbanshi) และเผ่าธิมัล(Dhimal) ที่อาศัยตามที่ลุ่มในเขตเตไร ส่วนพวกพราหมณ์ (Brahman) เผ่าเฉตริ(Chhetri) เผ่าฐากูรี(Thakuri) จะกระจายอยู่ทั่วไป
ทั้งนี้การแบ่งกลุ่มดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดบทบาทสำคัญที่ส่งผลต่อสังคมและการเมืองของประเทศ อันได้แก่ ความแตกต่างทางขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษา และวัฒนธรรม สิ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างเหล่านี้ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านเผ่าพันธุ์ วรรณ และสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงทางตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัย โดยมีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร (ขนาดเท่ากับประเทศสวิตเซอร์แลนด์รวมกับประเทศออสเตรีย) เป็นประเทศเล็กๆที่ไม่มีทางออกทะเล เนื่องจากถูกล้อมรอบโดยประเทศอื่นๆ (Land Locked Country)
ทรัพยากรธรรมชาติ
ด้านการเกษตร ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ยาสูบ ข้าวสาลี ถั่ว และมันฝรั่ง
แร่ธาตุที่สำคัญของเนปาล ได้แก่ ไมก้า ลิกไนต์ ทองแดง โคบอลต์ แร่เหล็ก พลวง และตะกั่ว
ภาษา
ชนเผ่าต่างเชื้อชาติใช้ภาษาของตนเป็นภาษาท้องถิ่น แต่ เนปาลี (Nepali) ซึ่งเป็นภาษาประจำวันประจำชาติที่มีการประดิษฐ์ขึ้นในแบบตัวอักษรเทวนาครี (Devanagari) ถือเป็นภาษากลางที่ใช้ในเนปาล โดยมีรากฐานมาจากอินเดียทางภาคเหนือ นอกจากนี้ผู้ที่มีการศึกษาสามารถพูดและเข้าใจภาษาอังกฤษได้ดี
ธงชาติ
ประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2505 มีลักษณะที่แตกต่างจากธงประจำชาติของประเทศต่างๆ เนื่องจากรูปร่างของธงจะมีลักษณะสามเหลี่ยม 2 ชิ้นประกบกัน ขอบธงชาติเดินด้วยสีน้ำเงิน พื้นเป็นสีแดง มีสัญลักษณ์สีขาวอยู่ตรงกลางของสามเหลี่ยม ชิ้นบนเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว อันหมายถึงพระมหากษัตริย์ และชิ้นล่างเป็นรูปพระอาทิตย์ อันหมายถึงอำนาจแห่งตระกูลรานะ
เวลา
เวลาของเนปาลเร็วกว่ามาตรฐานกรีนิซ 5 ชั่วโมง 45 นาที ดังนั้นจึงช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง 15 นาที
|
|
|
|
เนปาล |
เนปาล |
แนวหิมาลัย |
เอเวอร์เรส : mountain flight |
|
|
|
|
ทะเลสาบเฟวา |
ทะเลสาบเฟวา |
แนวหิมาลัย |
เนปาล |
คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ
รูปโดย http://www.tripdeedee.com่
ประวัติศาสตร์
เนปาลเป็นประเทศที่มีความเป็นเอกราช มีระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ราชอาณาจักรเนปาลมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 2,000 ปี โดยเริ่มจากชนเผ่า Kirates ในเขตหุบเขากาฐมาณฑุ ต่อมาในราวคริสต์ศตวรรษที่ 4 ตระกูลลิจฉวี (Lichhavis) ได้ปกครองดินแดนแถบนี้ โดยได้รับอิทธิพลฮินดูและพุทธจากอินเดีย ประวัติศาสตร์เนปาลปรากฏเด่นชัดขึ้นเมื่อราชวงศ์มัลละ (Malla) ได้ปกครองพื้นที่ทางตะวันตกของเนปาล และหุบเขากาฐมาณฑุ (Kathmandu Valley) ทั้งหมดในพุทธศตวรรษที่ 18-21 ต่อมาราชอาณาจักรของราชวงศ์มัลละถูกแบ่งออกเป็น 3 อาณาจักร คือ กาฐมาณฑุ ภักตะปุร์ ละลิตปุร์ (ปะฏัน) และกีรติปุร์(ราชอาณาจักร Bhadgaon และราชอาณาจักร Patan)
กษัตริย์แห่งราชวงศ์มัลละผู้ปกครองกรุงกาฐมาณฑุได้ให้การสนับสนุนในด้านศิลปะและวัฒนธรรมอย่างเต็มที่ ต่อมามีการรณรงค์ในเรื่องของการรวมชาติโดยกษัติย์ปฤถวี นารายัณชาห์ มหาราช (King Prithvi Narayan Shah the Great) ในปีพ.ศ. 2311 ราชวงศ์ชาห์ในปัจจุบัน กษัตริย์ปฤถวีนารายัณ ชาห์ มหาราชได้สถาปนาราชอาณาจักร Gorkha โดยรวบรวมอาณาจักรทั้งหมดของเนปาลเป็นอาณาจักรเดียว ต่อมาเนปาลได้รับชัยชนะในการทำสงครามกับผู้รุกราน อาทิอังกฤษทางด้านอินเดีย และจีนทางด้านทิเบต ในช่วงนี้เนปาลปกครองโดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศในบรรดาศักดิ์ รานะ (Rana) ที่สืบทอดกันมาในตระกูล Shamsher ประมาณ 100 ปี ช่วงดังกล่าวกษัตริย์เป็นประมุขแต่เพียงในนามเท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2493 อำนาจในการบริหารประเทศจึงกลับคืนมาสู่กษัตริย์อีกครั้ง ซึ่งในขณะนั้นคือสมเด็จพระราชาธิบดีตริภูวัน (Tribhuvan) และในขณะเดียวกัน พรรค Nepali Congress (NC) ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกในเนปาล
กษัตริย์แห่งราชวงศ์ชาห์ได้ขึ้นครองราชย์ปกครองประเทศต่อจากราชวงศ์มัลละ
การปฏิวัติในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2493 เป็นการสิ้นสุดช่วงการปกครองโดยบรรณาศักดิ์รานะที่ปกครองประเทศเป็นระยะเวลา 104 ปี (พ.ศ. 2389-2493) หลังจากการล่มสลายของการปกครองโดยตระกูลของรานะในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 เนปาลเริ่มให้ความสนใจกบระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จากนั้นได้มีการนำการปกครองแบบรัฐสภาที่มีรัฐบาลผสมมาใช้ ในปี พ.ศ. 2502 สมเด็จพระราชาธิบดีมเหนทรา (Mahendra) ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ และได้จัดให้มีการเลือกตั้ง โดยมีนาย B.P. Koirala หัวหน้าพรรค NC ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ในปี พ.ศ.2505 ได้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดการปกครองให้เป็นแบบระบบปัญจยัต (Panchayat System) หรือระบบรัฐสภาแบบสภาเดียวและไม่มีพรรคการเมือง
ช่วงต้นปี พ.ศ. 2533 มีการชุมนุมประท้วงและก่อการจลาจลเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยแบบมีพรรคการเมืองหลายพรรค (Multi-Party System) โดยมีการแทรกแซงจากต่างชาติโดยเฉพาะอินเดีย เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2533 สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทรา บีร์ บิกรัม ชาห์ เทพ (Birendra Bir Bikram
Shah Dev) ทรงประกาศยกเลิกข้อห้ามที่มิให้มีพรรคการเมืองและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
กษัตริย์องค์ปัจจุบันของเนปาล คือ สมเด็จพระราชาธิบดี คยาเนนทรา พีร์ พิกรม ชาห์ เทพ (Gyanendra Bir Bikram Shah Dev) เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ชาห์พระองค์ที่ 13 ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ภายหลังโศกนาฏกรรมจากเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์หมู่สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทราและพระราชวงศ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544
ปัจจุบันประเทศเนปาลยังประสบปัญหาเรื่องความสงบภายในประเทศจากกลุ่ม Maoist ซึ่งเป็นกลุ่มที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ตามแนวทางเหมาเจ๋อตุง ที่ทำการเรียกร้องให้ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ โดยวิธีการใช้กำลังต่อต้านรัฐบาลและดำเนินสงครามประชาชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 สถานการณ์ทางการเมืองมีความไม่มั่นคง เนื่องจากมีการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ต่อต้านซึ่งนิยมลัทธิเหมาและกองกำลังทหารตำรวจเนปาลมาโดยตลอด การเจรจาสันติระหว่างฝ่ายผู้นำกลุ่มผู้ต่อต้านซึ่งนิยมลัทธิเหมาและตัวแทนรัฐบาลเนปาลในระดับสูงที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้และแม้ในปัจจุบันก็ยังดำเนินอยู่นั้นขาดปัจจัยหลักคือความเชื่อใจระหว่างทั้งสองฝ่าย กระบวนการเจรจาสันติจึงมีอุปสรรคมาก มีความเปราะบางสูง ไม่อาจหาทางออกให้กับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งกษัตริย์คยาเนนทราที่ยังไม่ได้มอบอำนาจประชาธิปไตยที่แท้จริงแก่ประชาชน ด้วยการสั่งยุบรัฐบาลอยู่บ่อยครั้ง
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความสั่นคลอนของการบริหารประเทศ เป็นเรื่องที่นานาประเทศต่างจับตาว่ากษัตริย์คยาเนนทราจะนพาประเทศไปในทิศทางใด เพื่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องแนวคิดทางการเมืองกับกบฏลัทธิเหมา ให้ทำการวางอาวุธและทบทวนความคิดที่จะกลับมาสู่กระแสการเมืองหลักของชาติโดยสันติวิธี พร้อมทั้งการคืนอำนาจประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับสู่มือประชาชนดังที่พระองค์รับปากเอาไว้เพื่อให้ประเทศเนปาลกลับมาสงบสุขอีกครั้ง
คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ
รูปโดย http://www.tripdeedee.com
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ประเทศเนปาลมีอาณาเขตติดต่อกับทิเบตและสาธารณรัฐประชาชนจีนทางทิศเหนอ รัฐสิกขิมและเบงกอลตะวันตกของอินเดียทางทิศตะวันออกและรัฐพิหารกับอุตรประเทศของอินเดียทางทิศใต้และทิศตะวันตก มีความยาวจากเหนือจรดใต้ 145-241 กิโลเมตร และจากตะวันออกถึงตะวันตก 885 กิโลเมตร นอกจากนี้ในบางพื้นที่ยังมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลถึง 1,220 เมตรอีกด้วย
ประเทศเนปาลแบ่งเป็น 3 เขตภูมิภาค ได้แก่
- เขตเทือกเขาหิมาลัย (Himalayan Region) ประกอบไปด้วย 8 ยอดเขาของโลก (จากทั้งหมด 14 ยอดเขา) ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเกิน 8,000 เมตร เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งมีความสูง 8,848 เมตร เป็นต้น นับเป็นพื้นที่ 27% ของพื้นที่ทั้งหมด
- เขตภูเขา (Mountain Region) มีพื้นที่ถึง 55% จากพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ เขตนี้ถูกแบ่งโดยเทือกเขามหาภารตะ (Mahabharat)ซึ่งมีความสูงถึง 4,871 เมตร และในด้านใต้มีเทือกเขาชุเรีย (Churia) ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 610-1,524 เมตร
- เขตเตไร (Terai Region) เป็นเขตที่ราบต่ำซึ่งมีความกว้างประมาณ 26-33 กิโลเมตร และมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลสูงสุดที่ 305 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 17% ของประเทศเนปาล
สภาพอากาศ
สภาพอากาศในประเทศเนปาล แตกต่างไปตามลักษณะภูมิประเทศ ตั้งแต่ลักษณะภูมิอากาศเขตร้อนไปถึงแบบอาร์กติก ซึ่งขึ้นอยู่กับความสูงเหนือระดับน้ำทะเล ตัวอย่างเช่น เขตเตไร ซึ่งอยู่ใต้เขตร้อนของประเทศมีสภาพอากาศแบบร้อนชื้น เขตพื้นที่ภาคกลางนั้นมีอากาศดีเกือบตลอดปี ถึงแม้ช่วงกลางคืนของฤดูหนาวจะเย็นก็ตาม ส่วนในเขตภูเขาทางตอนเหนือที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเกิน 3,353 เมตร มีสภาพอากาศแบบเทือกเขาสูงที่มีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำในฤดูหนาว
ประเทศเนปาลมี 4 ฤดู ได้แก่
- ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-พฤษภาคม) มีอากาศที่อบอุ่น แต่ก็อาจจะมีฝนตกประปราย อุณหภูมิสูงสุด 30 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 7 องศาเซลเซียส
- ฤดูร้อน (มิถุนายน-สิงหาคม) มีอากาศอบอุ่นถึงร้อน แต่ก็มีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม อุณหภูมสูงสุด 29 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 19 องศาเซลเซียส
- ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน) มีอากาศอบอุ่นและเย็นในบางเวลา ท้องฟ้าแจ่มใสเหมาะกับการเดินเขาเป็นอย่างยิ่ง อุณหภูมิสูงสุด 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 7 องศาเซลเซียส
ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) มีอากาศเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และมีหมอกหนา ยกเว้นในช่วงที่มีแสงจากดวงอาทิตย์ อากาศจะอบอุ่น อุณหภูมิสูงสุด 19 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 2 องศาเซลเซียส
|
เขาหางปลา เมืองโพคารา หนึ่งในแนวเืทือกเขาหิมาลัย |
|
สถูปสวะยัมภูวนาถ เมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล |
|
เมืองปักตะปูร์ ประเทศเนปาล |
|
เทือกเขา เอเวอร์เรส จากการนั่ง Mountain Flight ประเทศเนปาล |
|
สถูปโพธินาถ ศูนย์รวมพุทธศาสนา ของชาวเนปาล ประเทศเนปาล |
รูปโดย http://www.tripdeedee.com
แหล่งข้อมูลจาก
- หนังสือคู่มือนักเดินทางฉบับพกพา "เนปาล" หนังสือในเครือเที่ยวรอบโลก
|