ปากีสถาน
มีโอกาสได้ไปสำรวจเส้นทางปากีสถานคาราโครัมไฮเวย์ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม - 12 กันยายน 2556 กับเพื่อนๆ นักถ่ายภาพและนักท่องเที่ยวกัน 7 ชีวิตด้วยกัน ทริปนี้เน้นสำรวจเส้นทางทางภาคเหนือของปากีสถาน โดยเริ่มต้นเดินทางด้วยการบินไทยบินลงเมืองอิสลามาบัด จากนั้นเป็นการนั่งรถจากอิสลามาบัดผ่านเส้นทางคาราโครัมไฮเวย์ เส้นทางหลวงที่สูงที่สุดในโลก โดยระหว่างทางจะมีจุดรับตำรวจเดินทางมาด้วยกับรถนักท่องเที่ยวตลอดเส้นทาง คืนแรกเราพักที่เมืองชีลาส จากอิสลามาบัดมาถึงเมืองชีสลาสประมาณ 14-16 ชั่วโมง เนื่องจากไฟล์ทบินภายในประเทศจากอิสลามาบัดไปยัง Gilgit มักจะมีการยกเลิกบินบ่อยๆ ด้วยสนามบินรายล้อมไปด้วยภูเขาสูง 6-8,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ก่อนจะลดระดับเครื่องลงดังนั้นหากฟ้าไม่เปิดแล้วจะค่อยข้างอันตรายมากดังนั้นการเดินทางด้วยรถจึงเหมาะสำหรับเส้นทางปากีสถานทางภาคเหนือ จากชีลาส ต้องมาที่เมือง Gilgit และ มาพักที่ เมือง karimabad ที่เป็นที่ตั้งของ Hunza Valley ผู้คนที่ฮุนซ่าวัลเล่ย์ น่ารัก เป็นมิตร และ อัธยาศัยดีมากคะ ใกล้ๆ ฮุนซ่าวัลเล่ย์ ยังมี Nagar Valley และ Hopper Valley การเดินทางมาเที่ยวปากีสถานภาคเหนือ สถานที่ที่ไม่ควรพลาดคือ Passu Glacier จากฮุนซ่าไปยัง Passu ต้องนั่งเรือ ผ่านทะเลสาบ Attabad ผ่านหมู่บ้าน Gulmit และ ผ่านทะเลสาบ Bolit Lake รถจะส่งเรา ถึงจุดที่ต้องเดินเท้า ประมาณ 1 กม. เป็นเทรคระยะสั้น เพื่อไปชมธารน้ำแข็ง passu จากพาสสุ เราไปพักค้างแรมที่เมือชายแดนปากีสถาน - จีน เมือง Sost ก่อนที่จะข้ามไปจีน เพื่อเที่ยว Kasgar และ ทะเลสาบ karakul โดยก่อนออกชายแดนจะต้องผ่านที่ราบสูง khunjerarb pass ที่ระดับความสูงประมาณ 4700 เมตรจากระดับน้ำทะเล ผ่านอุทยานแห่งชาติ Khunjerarb ซึ่งเป็นอุทยานที่อยู่ของสัตว์ป่านานาชนิด เช่น Snow leperd , iBex ฯลฯ จากปากีสถานเดินทางออกไปทางจีน ค่อยข้างเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและรอนานมาก เนื่องจาก ตม. จีน มีการตรวจละเอียดอย่างมาก โดยเฉพาะผู้หญิง พวกเราเสียเวลารอที่ชายแดนฝั่งจีนนานมาก เพราะ ตม. จีนจะปล่อยให้รอวิ่งมาพร้อมกันในรอบเดียว โดยห้ามลงจากรถ ต้องรถในรถเท่านั้น ส่วนการเดินทางกลับจากจีนมายังปากีสถานในกลับไม่ซับซ้อนและยุ่งยากยาวนานเหมือนขาเข้า กลับจากจีนเราจึงเห็นว่าการเที่ยวแต่ส่วนปากีสถานน่าจะดีที่สุด ขากลับจากจีนเราจะได้มาพักที่ Eagle nest resort เป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของ Hunza valley สถานที่ที่เราได้มีโอกาสไปสำรวจเส้นทางกันอีกแห่งคือ Fairy meadows ห่างจาก Gilgit ไปประมาณ 3-4 ชั่วโมง ต้องเปลี่ยนเป็นรถจีปเล็ก นั่งขโยกแขยกไปประมาณ 1 ชั่วโมง และเดินเท้าอีกประมาณ 8 กิโล เพื่อขึ้นไปยัง Fairy meadows ชมยอดเขา Nangaphabat หรือ จะเลือกใช้บริการขี่ม้าก็ได้คะ ประมาณ 1000 - 1500 รูปีปากีสถาน ค้างข้างบน หนึ่งคึน จากนั้นก็นั่งรถกลับอิสลามาบัดโดย พักค้างกลางทางที่เมือง Besham และก่อนกลับเรายังได้แวะเที่ยวชม Taxila และ มัสยิด Faisal รับประทานอาหารพื้นเมืองปากีสถาน ที่ food street ในปากีสถาน ก่อนกลับกรุงเทพฯ
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
อาณาเขตของประเทศปากีสถานในปัจจุบันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอินเดียโบราณ ซึ่งเคยถูกปกครองโดยชาวอารยัน เปอร์เซีย มาเซโดเนีย กลุ่มชนจากเอเชียกลาง อาณาจักรออตโตมัน ชาวอาหรับ และจักรวรรดิ์โมกุลตามลำดับ จนถึงช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 จักรวรรดิ์อังกฤษได้ขยายอิทธิพลมายังอินเดียและดินแดนต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้แทนที่จักรวรรดิ์โมกุลที่เสื่อมอำนาจลง และต่อมาอังกฤษสามารถปกครองอนุทวีปเอเชียใต้นี้ได้โดยสมบูรณ์
ในยุคอาณานิคมนั้น ดินแดนปากีสถานในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย และชาวมุสลิมในอินเดียได้ดำเนินการเผยแพร่ความคิดที่จะสถาปนาดินแดนอิสระของชาวมุสลิม (separate Muslim state) ขึ้นในอินเดีย ระหว่างปี 2480-2482 (ค.ศ. 1937-1939) กลุ่มชาวมุสลิมรวมตัวกันภายใต้ชื่อ All-India Muslim League และผลักดันข้อเสนอดังกล่าว จนฝ่ายปกครองต้องเห็นชอบกับข้อมติที่เรียกกันว่า Pakistan Resolution เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2483 (ค.ศ. 1940) จึงเกิดดินแดนที่มีชาวมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่ขึ้นในอนุทวีปเอเชียใต้ ในนามดินแดนปากีสถาน
ต่อมาอินเดียได้เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ จนประสบความสำเร็จในวันที่ 14 สิงหาคม 2490 (ค.ศ. 1947) และทำให้ปากีสถานมีสถานะเป็นประเทศอีกประเทศหนึ่งแยกจากอินเดีย โดยแบ่งดินแดนปากีสถานเป็น 2 ส่วน คือ ปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก โดยมี Quaid-i-Azam Muhammad Ali Jinnah เป็นผู้นำประเทศคนแรกในตำแหน่ง Governor General (ขณะนั้นยัง ไม่มีตำแหน่งประธานาธิบดี) และเป็นบุคคลที่ชาวปากีสถานยกย่องเป็นบิดาของประเทศ (Father of the Nation) ซึ่งต่อมาในปี 2514 (ค.ศ. 1971) ปากีสถานตะวันออกได้แยกตัวเป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน
|
|
|
|
Rakaposhi |
รูปปากีสถาน |
รูปปากีสถาน |
ยอดเลดี้ ฟิงเกอร์ |
|
|
|
|
รูปปากีสถาน |
รูปปากีสถาน |
รูปปากีสถาน |
แฟรี่มีโดว์ |
รูปโดย TripDeeDee.com
ชื่ออย่างเป็นทางการ
สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan) หรือ ปากีสถาน (Pakistan)
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ทิศเหนือติดกับจีน ทิศตะวันตกติดกับ อิหร่านและอัฟกานิสถาน ทิศตะวันออกติดกับอินเดีย และทิศใต้ติดกับทะเลอาหรับ
พื้นที่
803, 940 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 778,720 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 25,220 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
พรมแดน 6,778 กิโลเมตร ติดกับอัฟกานิสถาน (2,430 กิโลเมตร) จีน (523 กิโลเมตร) อินเดีย (2,912 กิโลเมตร) อิหร่าน (909 กิโลเมตร) ความยาวชายฝั่ง 1,046 กิโลเมตร
สภาพภูมิอากาศ
บริเวณส่วนใหญ่ของประเทศอากาศร้อนและแห้งแล้ง ยกเว้นภาคตะวันตกเฉียงเหนือที่อากาศอบอุ่น และภาคเหนือมีอากาศเย็น
สัญชาติ
ปากีสถาน (Pakistani (s))
เชื้อชาติ
ปัญจาบ 44.68% ปาทาน 15.42% ซินด์ 14.1 % บาลูชี 3.57% และมูฮาเจียร์ (Muhajir - ชาวมุสลิมที่อพยพมาจากอินเดีย) 7.57 % และอื่นๆ 6.28 %
ศาสนา
อิสลาม 95% (ในจำนวนนี้ เป็นนิกายสุหนี่ 75% และนิกายชีอะห์ 20%) คริสต์ ฮินดูและอื่นๆ รวม 5%
สกุลเงิน
รูปีปากีสถาน (PKR-Pakistan Rupee) 3รูปีปากีสถานมีค่าประมาณ 1 บาท
เวลา
เวลาของปากีสถานจะช้ากว่าของประเทศไทย 2 ชั่วโมง
ภาษา
ภาษาอูรดูเป็นภาษาประจำชาติ ส่วนภาษาอังกฤษใช้ในรัฐบาลกลางและแวดวงธุรกิจ และมีภาษาท้องถิ่นอาทิ ปัญจาบี ซินดิ ปาทาน และบาลูชี
รูปแบบการปกครอง
กึ่งประชาธิปไตย (Federal Republic)โดยประธานาธิบดีมีอำนาจสูงสุดจากการรัฐประหาร
เมืองหลวง
กรุงอิสลามาบัด (Islamabad) เมืองสำคัญได้แก่ การาจี (Karachi) เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางเศรษฐกิจ ทางใต้ของประเทศ ละฮอร์ (Lahore) เป็นเมืองศูนย์กลางของธุรกิจอุตสาหกรรม ทางเหนือของประเทศ
การแบ่งเขตการปกครอง
4 จังหวัด 1 เขตการปกครอง และ 1 เขตการปกครองเมืองหลวง (Capital Territory)
- 4 จังหวัดได้แก่ Balochistan, North-West Frontier Province, Punjab, Sindh
- 1 เขตการปกครอง ได้แก่ Federally Administered Tribal Areas
- 1 เขตการปกครองเมืองหลวง (Capital Territory) ได้แก่ Islamabad Capital Territory
เขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศปากีสถาน ได้แก่
รัฐ (Province) :
- 1. รัฐบาลูจิสถาน (Balochistan)
- 2. รัฐไคเบอร์-ปัคตุนควา (Khyber Pakhtunkhwa) เดิมชื่อ "นอร์ท-เวสต์ฟรอนเทียร์" (North-West Frontier)
- 3. รัฐปัญจาบ (Punjab)
- 4. รัฐสินธ์ (Sindh)
- นอกจากนี้ในแคว้นนอร์ท-เวสต์ฟรอนเทียร์และบาลูจิสถานก็ยังมีพื้นที่ชนพื้นเมืองที่ทางจังหวัดเป็นผู้บริหาร (Provincially Administered Tribal Areas: PATA) ด้วย ซึ่งคาดว่าพื้นที่เหล่านี้จะพัฒนาเป็นเขตปกติต่อไป
ดินแดน (Territorry) :
- 5. อิสลามาบัดแคพิทอลเทร์ริทอรี (Islamabad Capital Territory)
- 6. พื้นที่ชนพื้นเมืองที่ส่วนกลางบริหาร (Federally Administered Tribal Areas)
ส่วนของเขตแคชเมียร์ที่ปากีสถานบริหาร (Pakistani-administered portion of Kashmir region) :
- 7. อาซัดแคชเมียร์ (Azad Kashmir; azad ในภาษาอูรดูแปลว่า "เสรี")
- 8. พื้นที่ทางเหนือ (Northern Areas หรือ Gilgit Baltistan)
|
Play list Clip Video ปากีสถานทางภาคเหนือ |
รูปโดย TripDeeDee.com
|