ข้อมูลทั่วไปราชาสถาน ประวัติศาสตร์ ข้อมูลทั่วไปราชาสถาน |
เกริ่นนำ เมื่อวันที่ 19-27 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมามีโอกาสได้ไปออกรอบทริปสำรวจเส้นทางรัฐราชาสถาน ประเทศอินเดียมาค่ะไปกับเพื่อนๆเอเจนท์รวมก็ 10 ท่านด้วยกัน การเดินทางได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอเจนซี่ทางอินเดียค่ะ บริษัท Jatak เป็นเจ้าภาพการเดินทางเริ่มต้นจากเมืองเดลี สู่นครสีชมพู เมืองจัยปูร์(Jaipur) หรือ เมือง ชัยปุระที่คนไทยรู้ัจักกันค่ะโดยเราพักแรมกันที่จัยปูร์เป็นเวลา 2 คืนด้วยกันค่ะ ที่เมืองจัยปูร์จะแบ่งส่วนเมืองเมืองออกเป็นย่านเมืองเก่าสีชมพูและส่วนเมืองใหม่ค่ะ สถานที่ท่องเที่ยวในเมืองจัยปูร์เช่น ป้อมแอมเบอร์ ซิตี้พาเลซ สถานที่ดาราศาสตร์ จันทรา มันทาร์ และฮาวามาฮาล หรือ พระราชวังสายลม ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของนครสีชมพูก็ว่าได้ค่ะ จากนั้นเดินทางต่อมาเมืองบิคาเนอร์ใช้เวลาเดินทางราว 7 ชั่วโมงจากชัยปุระ เช้าวันรุ่งขึ้นเราเที่ยวชมป้อมจูนาการห์ และเดินทางต่อไปยังเมืองสีทอง หรือ จัยแซลเมียร์ (Jaisalmer) นครสีทอง พักที่นี่สองคืนเช่นกันค่ะสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจก็มีป้อมจัยแซลเมียร์ ทะเลสาบกาดซิซาร์ และการไปชมทะเลทรายทาร์โดยการขี่อูฐค่ะอีกหนึ่งประสบการณ์ที่นั่งท่องเที่ยวไม่ควรพลาด จากนั้นคณะเราก็เดินทางมายังเมืองสีฟ้า หรือ เมืองจ๊อดปูร์ ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐราชาสถานเลยค่ะ เมืองค่อยข้างเจริญแบ่งเป็นโซนเมืองเก่าเมืองใหม่เช่นกัน จุดชมวิวที่สามารถชมเมืองสีฟ้าย่านเมืองเก่าได้ดีก็คือการมาชมที่ป้อมปราการเมห์รานการห์ ค่ะ จากนั้นเราก็ได้เดินทางมาเที่ยวเมาท์อาบู ซึ่งเป็นนครที่อยู่บนเขาอาบู ค่ะ ข้างบนอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปีคะ และเมืองสุดท้ายที่เราได้ไปสำรวจกันคือ เมืองอุไดปูร์ ขอเรียกว่านครสีขาวนะคะ เป็นเมืองขนาดใหญ่เช่นกันค่ะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือซิตี้พาเลซ และการล่องเรือทะเลสาบพิโคล่า และวัดเชน วัดจักดิศที่งดงามค่ะ เราจบการเดินทางสำรวจเส้นทางไว้ที่เมืองอุไดปูร์คะ เสน่ห์ของราชาสถานที่เราได้สัมผัส คือ สีสันแห่งเมืองราชาสถาน เช่นเมืองสีชมพู เมืองสีทอง เมืองสีฟ้า และสีสันของผู้คน รวมถึงความยิ่งใหญ่ของพระราชวังและป้อมปราการต่างๆที่แข่งกันสร้างเพื่ออวดความเลอเลิศ สมเป็นเมืองแห่งราชาจริงๆคะ อีกอย่างนึงคือความยิ่งใหญ่ของทะเลทรายทาร์
่ ประวัติศาสตร์ราชาสถาน* ชื่อเดิมของราชาสถานคือ ราชปุตนะ โดยมีมหารานาแห่งอุทัยปุระ เป็นประมุขใหญ่เหนือแคว้นทั้ง 36 แคว้น หลังจากอินเดียได้รับเอกราชแคว้นจึงได้รวมตัวกันเป็นรัฐราชาสถาน ปัจจุบันเชื่อกันว่า ชาเผ่าภีลกับมีนะในรัฐราชาสถานตอนบนเป็นบรรพบุรุษของผู้คนในเมืองโบราณแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ แต่ต้องแตกฉานซ่านเซ็นไปเมื่อราวหนึ่งพันสี่ร้อยปีก่อนคริสตกาล หลังชนเผ่าอารยะล่วงล้ำเข้ามาจากทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วใช้สงครามในการเบิกทางสำหรับการลงหลักปักฐาน ตามมาด้วยสันติภาพในภายหลัง ช่วงรัชสมัยของพระเจ้าหรรษา คริสต์ศตวรรษที่ 7 ไล่ลงมาจนรัฐศุลต่านแห่งเดลี ของมุสลิมได้รับการสถาปนาขึ้น ค.ศ. 1206 ราชาสถานมีสถานะเป็นรัฐอิสระัมาโดยตลอด ประมุขของพวกเขาอ้างตนว่าเป็นเชื้อสายพระอาทิตย์ พระจันทร์ และพระอัคนี หลังศตวรรษที่ 14 ความตกต่ำเร่ิมกรายมาเยือน ครั้นถึงศตวรรษที่ 16 พวกมุฆัลก็เข้ามายึดครองภาคเหนือของอินเดีย พระเจ้าอักบาร์ทรงใช้อำนาจทางทหารและขันติธรรมทางศาสนาซื้่อใจพวกราชาสถาน ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงฮินดูในวงศ์ราชปุต เพื่อเชื่อมไม่ตรี เปลี่ยนศัตรูให้กลายมาเป็นมิตรผู้ซื่อสัตย์ มีเจ้าหญิงจากชัยปุระและโชธปุระหลายองค์อภิเษกเข้าไปอยู่ในราชสำนักมุฆัล แต่เมื่อพวกมุฆัลอ่อนแอลง พวกราชปุตก็ตั้งตัวเป็นอิสระในปี 1757 อังกฤษยึดเบงกอลได้มีแต่ราชาสถานที่ยืนหยัดไม่อ่อนข้อ จนต้นศตวรรษที่ 19 บรรดามหาราชาทั้งหลายจึงได้ยอมจำนน * ข้อมูลจากหนังสือ อินเดีย หน้าต่างสู่โลกกว้าง ข้อมูลทั่วไป รัฐราชาสถานเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่อยู่ติดกับชายแดนปากีสถานทางด้านตะวันตกของอินเดียและตะวันตกเฉียงเหนือ และพื้่นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย มีพื้นที่ประมาณ 342,239 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นรัฐที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในอินเดีย ราชาสถานมี 33 หัวเมืองด้วยกันคะและมีเมือง จัยปูร์ หรือ เมืองชัยปุระเป็นเมืองหลวงของรัฐคะ สภาพอากาศและอุณหภูมิ ฤดูร้อนมีอุณหูมิระหว่าง 14-45 องศาเซลเซียส ฤดูหนาว มีอุณหภูมิ 7-32 องศาเซลเซียส บางครั้งอุณหภูมิกลางทะเลทรายอาจสูงถึง 55 องศาในฤดูร้อนค่ะ ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนคะโดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 50 เซนติเมตรค่ะ ช่วงที่เหมาะสมกับการเดินทางมาเที่ยวราชาสถานคือเดือนตุลาคม - มีนาคม ภาษา ภาษาที่้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาฮิืนดู และภาษาพื้่นเมืองของราชาสถาน ได้แก่ Begdi , Hadoti , Marwari , Mewari และ Mewati ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ศาสนาส่วนใหญ่ก็มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาฮินดู เช่น มูสลิม เชน คริสต์ และ ซิกห์ ประชากร ขนาดประชากรประมาณ 60 ล้านคน
รูปโดย ทริปดีดี ดอทคอม
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||
|