ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
อิสตันบูลไม่ใช่เมืองหลวงของตุรกี แต่กลับเป็นนครและเมืองยอดฮิตสำหรับนักท่องเที่ยว อิสตันบูลไม่ใช่แค่นครแห่ง 2 ทวีปคือยุโรปและเอเชีย แต่เป็นเมือง 3 จักรวรรดิ เป็นเมืองที่มีทั้งวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก
ในอดีตที่นี่คือนครคอนสแตนติโนเปิลอันเกรียงไกร อาณาจักรโรมันตะวันออกอันยิ่งใหญ่ อาณาจักรไบแซนไทน์ และแม้กระทั้งอาณาจักรออตโดตมันที่รุ่งเรืองไม่แพ้จักรวรรดิไหน อิสตันบูลจึงเป็นเมืองที่
มีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ
สถานที่ท่องเที่ยว อิสตันบูล
- ฮิปโปโดรม (Hippodrome)
สร้างในสมัยจักรพรรดิเซ็ปติมุส เซเวรุส เป็นสนามอาเรน่าที่ใช้สำหรับการแข่งม้า และกิจกรรมต่างๆสามารถจุผู้คนได้กว่า 100,000 คน ในฮิปโปโดรมมีอนุสาวรีย์เด่นๆสามแห่งคือ
-เสาโอบีลิสก์ฟาโรหืธุตโมส (Obelisk of Pharaoh Thutmose) ซึ่งคอนคอนสแตนตินมหาราชนำมาจากเมืองคาร์นัคประเทศอียิปในสมัยที่มีการขนย้ายอนุสาวรีย์ต่างๆมาจากอาณาจักรยุคโบราณ
-เสางู (Serpentine colum) สลักเป็นรูปสามเหลี่ยมตัวกระหวัดรัดพันกันเดิทตั้งอยู่ที่วิหารเทพอพอลโล่แห่งเมืองเดลฟี
-เสาคอลัมน์คอนสแตนตินที่ 7 (Column of Constantine VII) ตั้งขึ้นในปี ค.ศ.940 แต่ไม่ทราบประวัติที่แน่ชัด
- พระราชวังบูโคเลียน
อยู่ทางทิศใต้ของฮิปโปโดรม จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงสร้างขึ้นและเป็นศูนย์กลางของไบแซนติอุมในอดีต กล่าวกันว่าต้นไม้ทองคำและนกกลร้องเพลงได้ในนิทานปรัมปราเคยตั้งอยู่ที่นี่ ปัจจุบันพระราชวังแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวกำแพงเก่าเลียบทะเลมาร์มารา กำแพงบางช่วงชำรุดเสียหายไปในเหตุจลาจลหลายครั้ง และถูกทำลายลงอย่างราบคาบในช่วงที่ชาวละตินบุกเข้ายึดครอง เหลือเพียงร่องรอยกำแพงวังและกรอบหน้าต่างหินอ่อนที่ทำให้รำลึกถึงความโอ่อ่าโอฬารในครั้งอดีต
- วิหารเซนต์โซเฟีย
สถาปัตยกรรมไบเซนไทน์ที่โดดเด่นในตัวเมืองคือ อายาโซเฟีย (Hagia Sophia) หรือวิหารเซนต์โซเฟีย (St Sophia) ซึ่งปัจจุบันจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ วิหารแห่งนี้ทำพิธีบวงสรวงเมื่อ ค.ศ. 536 ในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียนได้รับการยกย่องเป็นสุดยอดสถาปัตกรรมในยุคนั้นแม้จะสร้างขึ้นเป็นลำดับที่สาม โบสถ์หลังแรกสร้างโดยคอนสแตนตินุส โอรสของจักรพรรดิคอนสแตนตินและเกิดไฟไหม้ ค.ศ. 404 ต่อมาจักรพรรดิธีโอโดซิอุสจึงได้มีบัญชาให้สร้างวิหารหลังที่สองขึ้นใน ค.ศ. 415 แต่ถูกเผาทำลายลงเมื่อ ค.ศ. 532 ในเหตุจลาจลนิคา (Nika)
วิหารแห่งนี้เกิดจากรังสรรค์ของอันเธนิอุสแห่งทรัสลิส และอีซีโดรุสแห่งมีเลตุส ใช้เวลาสร้างเกือบหกปี ทำพิธีบวงสรวงเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 537 และทำซ้ำอีกครั้งใน ค.ศ. 563 หลังการซ่อมแซมยอดโดมที่พังลงเพราะแผ่นดินไหวเสร็จสิ้นลง อาณาเขตจากตะวันออกจรดจะวันตกวัดได้ 101 ฟุต (31 เมตร) จากเหนือจรดใต้ 104 ฟุต (32 เมตร) มีแผ่นหินอ่อนคอยดูดซับและสะท้อนแสงเทียนกับตะเกียงนับพันดวง ภายในจึงสว่างไสวจนถูกเรือเดินทะเลถือเป็นประภาคาร แต่ไฟจากดวงเทียนเหล่านี้ก็อาจเป็นต้นเพลิงที่เผาผลาญวิหารหลังเดิมและบ้านเรือนในเมืองไปเป็นจำนวนมากเช่นกัน
ที่ตั้งบัลลังก์จักรพรรดิถือเป็นศูนย์กลางจักรวาลตามโบราณราชประเพณี ในห้องนี้ เสารักษาโรค (Sweating Column) ต้นหนึ่ง กล่าวกันว่าสามารถรักษาโรคไมเกรนของจักรพรรดิจัสติเนียนได้เมื่อพระองค์แนบพระเศียรกับเสาต้นนี้ จึงเกิดความเชื่อว่าเสาแต่ละต้นในวิหารสามารถรักษาโรคได้ด้วยการสัมผัส แต่เมื่อถูกลูบคลำหลายศตวรรษเข้า เนื้อเสาก็สึกเว้าเข้าไปปัจจุบันมีการนำทองเหลืองมากรุเป็นกรอบและเรียกรอยเว้านี้ว่า หลุมศักดิ์สิทธิ์
จักรพรรดิจัสติเนียนทรงตกแต่งวิหารด้วยภาพโมเสก จักรพรรดิรุ่นหลังๆทรงเพิ่มภาพงามๆเข้าไปไม้น้อย แต่ก็ถูกพวกต่อต้านการบูชารูปเคารพทำลายลงใน ค.ศ. 729 และ 843 ภาพโมเสกที่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันถูกลงบันทึกเอาไว้ในสมัยหลัง และได้รับการปกป้องให้พ้นจากเงื้อมมือของชาวมุสลิมที่เข้ามายึดครองด้วยการทาน้ำปูนขาวปิดทำไว้ มาถูกค้นพบอีกครั้งเมื่ออาตาตุร์คทำการบูรณะวิหารในทศวรรษ 1930 เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณ์สำหรับอนุชนรุ่นหลัง
ภาพโมเสกชั้นล่างส่วนใหญ่มีสีทึมๆ มีแสงไฟสลัว จึงจำเป็นต้องใช้กล่องที่มีกำลังขยายภาพสูงส่องดู ภาพโมเสกบนผนังด้านตะวันออกของระเบียงทิศใต้เข้าไปดูได้ง่ายกว่า มีภาพของพระเยซู, จอห์นผู้ล้างบาปและพระแม่มาเรีย ภาพพิเศษที่ไม่ควรพลาดชมอยู่ที่มุขปลายสุด เป็นภาพจักรพรรดินีโซและพระสวามี คอนสแตนตินที่ 9 โมโนมาคุส ถัดขึ้นไปมีภาพอดีตพระสวามี โรมานุส ที่เคยเป็นคนเลี้ยงม้าผู้ล่อลวงสาวแก่วัย 50 อย่างจักรพรรดินีโซได้สำเร็จและหาทางเสือกไสให้ไป แต่แผนการก็ล้มเหลว พระองค์ต้องสูญเสียทั้งบัลลังก์และชีวิต ส่วนภาพผู้ใจบุญ (Donor mosaic) เป็นภาพจักรพรรดิคอนสแตนตินและจัสติเนียนถวายนครอิสตันบูลและวิหารเซนต์โซเฟียบูชาพระแม่และพระกุมารประดับอยู่เหนือประตูทางออก
|
|
|
|
วิหารเซนต์โซเฟีย |
วิหารเซนต์โซเฟีย |
วิหารเซนต์โซเฟีย |
วิหารเซนต์โซเฟีย |
|
|
|
|
วิหารเซนต์โซเฟีย |
วิหารเซนต์โซเฟีย |
วิหารเซนต์โซเฟีย |
วิหารเซนต์โซเฟีย |
|
คลิปวีดีโอ วิหารเซนต์โซเฟีย |
รูปโดย TripDeeDee.com
- อ่างเก็บน้ำใต้ดิน อ่างเก็บน้ำที่ตั้งอยู่ตรงข้ามวิหารเซนต์โซเฟียในแนวเฉียง ทางเหนือของต้นถนนดีวานโยลู (Divan Yolu) หรือถนนจักรพรรดิคือ อ่างเก็บน้ำใต้ดิน (Basilica Cistern)
- ที่น่าพิศวงประกอบด้วยเสาร์คอลัมน์ 336 ต้น สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 532 ในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียนเพื่อกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในพระราชวัง ต่อมาใช้เป็นที่ทิ้งขยะและซากศพ แต่ปัจจุบันได้รับการบูรณะจนให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากเมื่อก่อน เพราะสภาพภายในที่สะอาดเรียบร้อย มีทางเดินทะลุไปทั่ว เสียงลมพัดผ่านท่อดังอยู่หวิวๆท่ามกลางแสงไฟสลัว อ่างเก็บน้ำนี้มีเสน่ห์มนต์ขลังอยู่ในตัวควรค่าแก่การเที่ยวชม
|
|
|
|
อ่างเก็บน้ำใต้ดิน |
อ่างเก็บน้ำใต้ดิน |
อ่างเก็บน้ำใต้ดิน |
อ่างเก็บน้ำใต้ดิน |
|
|
|
|
อ่างเก็บน้ำใต้ดิน |
อ่างเก็บน้ำใต้ดิน |
อ่างเก็บน้ำใต้ดิน |
อ่างเก็บน้ำใต้ดิน |
|
คลิปวีดีโอ อ่างเก็บน้ำใต้ดินที่อิสตันบูล |
- พระราชวังทอปคาปิ
เหล่าผู้รู้ลงความเห็นว่าการที่เติร์กพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลซึ่งเป็นกรุงโรมแห่งที่สองลงได้ ทำให้สุลต่านอาห์เมตคิดว่าพระองค์ทรงเป็นผู้นำของระเบียบโลกใหม่ที่กำเนิดขึ้นจากแรงผลักดันของศาสนาอิสลาม ทรงเป็นทายาทสอบทอดดินแดนและความภักดีจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลและกรุงโรมเก่า จริงๆแล้วประวัติศาสตร์ออตโตมันก็มีอยู่หลายช่วงที่กล่าวถึงความสำเร็จในการขยายอำนาจและอาณาเขตออกไปจรดพรมแดนเก่าของกรุงโรมตะวันตกและทะเลเมติเตอร์เรเนียน (ยกเว้น อิตาลี ฝรั่งเศส และสเปน) ทางเหนือและตะวันออกครอบคลุมดินแดนเปอร์เซีย ซึ่งเป็นศัตรูคู่อาฆาตเก่าของโรมและจักรวรรดิไบเซนไทน์
พระราชวังทอปคาปิ (Topkapi Palace) ศูนย์กลางของจักรววรดิอันไพศาลเป็นที่เกิดของเรื่องราวต่างๆทั้งที่ดีงามและชั่วช้าสามานย์ตลอดช่วง 500 ปีของยุคออตโตมัน จวบจนมีการสร้างพระราชวังโดลมาบาห์เชขึ้นที่ฝั่งช่องแคบบอสฟอรัสในกลางศตวรรษที่ 19
สุลต่านเมห์เมตสร้างพระราชวังนี้ขึ้นบนเนินลูกแรกของอิสตันบูล เหนือจุดบรรจบของช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลสาบโกลเด้นฮอร์น และทะเลทาร์มารา โครงสร้างพระราชวังเหยียดตัวในแนวยาว เป็นศูนย์รวมความเป็นเลิศแต่ไร้ซึ่งความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม สุลต่านแต่ละรุ่นต่างต่อเติมวังออกไปตามความจำเป็น แต่อัคคีภัยที่เกิดขึ้นถึงสี่ครั้งได้ทำลายเอกภาพทางสถาปัตยกรรมลงจนเกือบหมด
หมู่อาคารเดิมในสมัยสุลต่านอาห์เมตได้แก่ ราห์ต ฮาซีเนซี (Raht Hazinesi) หรืออาคารพระคลังมหาสมบัติ (พระราชวังเดิม) กำแพงชั้นนอก-ชั้นใน และชีนีลีเคิชค์หรือพระตำหนักกระเบื้องปัจจุบันจัดทำเป็น พิพิธภัณฑ์พอร์ซเลนแห่งตุรกี (Museum of Turkish Porcelains)
พระราชวังทอปคาปีแบ่งเป็นสามส่วนคือ พระราชวังชั้นนอก หรือ บีรูน (Birun) พระราชวังชั้นใน หรือ เอนเดรูน (Enderun) และฮาเร็ม (Harem) แต่ละส่วนแบ่งเป็นอัฟลู (avlu) หรือลานกว้างที่มีประตูเชื่อมอีกหลายชั้น ภายในอาณาเขตพระราชวังทอปคาปีมีคนทำงานและอาศัยอยู่กว่า 5,000 คน จึงมีสภาพเป็นเมืองที่ซ้อนอยู่ในเมืองอย่างแท้จริง ภายในแน่นขนัดไปด้วยอาคารที่พักของช่างฝีมือหลวง คนสวน และทหารยามมีเครื่องแบบต่างสีสันกันไปเพื่อให้ง่ายต่อการแยกแยะจดจำ ตัวพระราชวังทอปคาปีนั้นได้รับการตกแต่งอย่างวิลิศมาหราในยุคที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด
นอกจากมัสยิดและโรงอาบน้ำ พระราชวังทอปคาปียังมีสวนสัตว์ที่มีทั้งสิงโต ช้าง หมี และของขวัญากประมุขต่างแดนอีกมากมาย แม้เนื้อที่ของวังจะลดลงมาก (สมัยก่อนแผ่ขยายไปถึงทะเลมาร์มารา สถานีรถไฟซีร์เคจี และสวนกุลฮาเน) แต่ก็ยังมีอาณาเขตกว้างขวางอย่างยิ่งอยู่ดี คุณควรใช้เวลาหนึ่งวันเต็มเที่ยวชม และหากสนใจเป็นพิเศษก็ควรกลับมาเก็บรายละเอียดในครั้งต่อๆไป
ในบริเวณพระราชวังมีน้ำพุหินอ่อนแบบร็อคโกโกสร้างในปี 1728 เพื่อฉลองครบ 50 ปีของสุลต่านอาห์เมตที่ 3 ตั้งอยู่ทางขวาของประตูบับ-เออ-ฮุมายุน หรือ ประตูจักรพรรดิ สร้างโดยสุลต่านอาห์เมตเมื่อปี 1478 เปิดออกสู่ลานชั้นแรก ในอดีตเป็นที่ตั้งกองบัญชาการใหญ่ของทหารเยนีเซรีและองครักษ์เพรเตอร์แห่งจักรวรรดิออตโตมันปัจจุบันเป็นท่าจอดรถประจำทาง ถ้าคุณผ่านเข้ามาทางซ้ายมือจะพบ โบสถ์เซนต์เอรีน โปสถ์ไบแซนไทน์ที่เก่าแก่ที่สุดในอิสตันบูล ปัจจุบันทางการใช้เป็นคลังสรรพาวุธ จะเปิดให้ชมเฉพาะเมื่อใช้จัดแสดงคอนเสิร์ตในงานเทศกาลประจำปีของนครอิสตันบูล
ประตูชั้นสองคือ บับ-อุ-เซลาม หรือ ประตูถวายคารวะ เป็นทางเข้าพระราชวังโดยตรง สร้างในสมัยสุลต่านสุเลย์มานสไตล์กึ่งยุโรปซึ่งรับมาเมื่อครั้งเสด็จไปทำศึกในแหลมบอลข่านและในยุโรปกลาง สุลต่านทรงม้าผ่านประตูนี้ได้เพียงผู้เดียวคนอื่นๆต้องลงจากหลังม้า อาจเพื่อเตือนสติว่าคนทั้งปวงพึงคุกเข่าแสดงคารวะต่อองค์ประมุข ที่ด้านนอกติดกับประตูมีบ่อน้ำพุสำหรับให้เพชฌฆาตใช้ชะล้างคราบเลือดบนขวานหลังจากประหารชีวิตนักโทษเสร็จเรียบร้อย มีชื่อว่า น้ำพุเพชฌฆาต
ฮาเร็ม : ภายในกำแพงพระราชวัง ฮาเร็มหรือเขตต้องห้ามสามารถกระตุ้นความสนใจใคร่รู้ได้มากที่สุด เพราะที่ซึ่งพระราชมารดา เหล่าชายา นางระบำ และโอรสธิดาของสุลต่านใช้ชีวิตอยู่โดยตัดขาดจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง บุรุษที่สามารถเข้านอกออกในได้มีเพียงบรรดาเจ้าชายและทาสยูนุคผิวดำ (ใช้สีเสื้อผ้าเป็นรหัสในการแยกแยะ) ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินพนักงานซุลฟุลุตาจีลาร์ หรือ พนักงานดับเพลิงผมลอน จะเข้ามาปฏิบัติงาน แต่ต้องสวมเสื้อคลุมคอตั้งสูงกว่าปกติเพื่อป้องกันไม่ให้ลอบดูพวกนางใน
แต่ฮาเร็มไม่ใช่อาณาจักรแห่งโลกีย์กามและความชั่วช้าสามานย์อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ วาลีเดสุลต่านพระราชมารดาของสุลต่านเป็นราชินีผู้ทรงสิทธิ์ขาดของอาณาจักรฝ่ายใน รองลงมาคือพระชายาตามกฎหมาย (บทบัญญัติทางศาสนากำหนดให้มีได้ไม่เกินสี่คน) ซึ่งทรงให้กำเนิดโอรสธิดาแก่สุลต่าน ผู้คอยควบคุมดูแล พี่เลี้ยงนางนม นางสนม คนโปรด และบรรดาบ่าวทาส
การมีสัมพันธ์กับสุลต่านไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาบาทบริจาริกาแต่ละนางจะต้องผ่านการอาบน้ำชำระกายและตระเตรียมอย่างพิถีพิถันก่อนถูกนำขึ้นถวายงานต้องมีการจดบันทึกวันเวลาที่แน่นอนเอาไว้และเมื่อตั้งครรภ์ต้องจดบันทึกอีก หากให้กำเนิดโอรสก้จะได้เลื่อนฐานะเป็น ฮาเซคีสุลต่าน แต่พระประสงค์ขององค์สุลต่านที่ต้องการเลือกนางสนมใช่ขะขัดขืนไม่ได้เสมอไปเพราะมี นางสนมบางรายที่ปฏิเสธไม่ยอมตาม แต่ก็ยังมีชีวิตรอดมาเล่าเหตุการณ์ให้คนอื่นๆได้รับรู้
ห้องหับในฮาเร็มมีอยู่กว่า 300 ห้อง แม้จะเปิดให้ชมเพียง 30 ห้องก็พอจะช่วยให้สำเหนียกถึงชีวิตอันเงียบเหงาโดดเดี่ยวในวังหลวงที่มีรั้วรอบขอบชิดนี้แล้ว บริเวณที่น่าสนใจคือ เวลีอาห์ต ดาอีเรซี หรือ กรงทอง เป็นที่พำนักของรัชทายาทซึ่งใช้ชีวิตสำเริงสำราญได้ไร้ขอบเขตเพื่อเตรียมก้าวขึ้นรับตำแหน่งอันทรงอำนาจสูงสุด สมัยก่อนเจ้าชายหนุ่มจะถูกส่งตัวไปยังหัวเมืองต่างๆกับข้าราชบริพารผู้จงรักภักดีเพื่อหาความรู้ด้านการปกครองใส่ตัว แต่ต่อมาธรรมเนียมปฏิบัตินี้กลับถูกยกเลิกไปประมุขรุ่นหลังๆจึงอ่อนแอไม่ทรงปรีชาสามารถ จึงมักถูกความริษยาและเล่ห์เหลี่ยมกลอุบายในฮาเร็มชักนำได้ง่าย
เอนเดรูน : บับ-อุส-ซาเดต หรือประตูสุขเกษม เป็นทางผ่านสู่พระราชวังชั้นใน นอกจากสุลต่านแล้วก็มีแต่ราชองครักษ์ที่ใช้เข้าออกได้โดยไม่ต้องรอพระบรมราชานุญาต ที่นี่เป็นที่จัดงานเทศกาลนานาชาติของนครอิสตันบูลในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมของทุกปี ตลอดจนจัดแสดงผลงานของโมสาร์ทที่ชื่อว่า Abduction from the Seraglio เมื่อผ่านปรูเข้ามาจะพบกับ อาร์ซ โอดาสึ หรือห้องถวายฏีกา ซึ่งแกรนด์วิเซียร์ใช้ศึกษาอรรถคดีความต่างๆทั้งเก่าและใหม่ ก่อนจะนำคำติดสินขึ้นทูลเกล้าถวายองค์สุลต่านเพื่อให้ทรงวินิจฉัย
ด้านขวาคือ อาคารพระคลังมหาสมบัติ เดิมเป็นพระราชวังที่ประทับขององค์สุลต่านเมห์เมตผู้พิชิต ปัจจุบันใช้จัดแสดงสมบัติล้ำค่าที่ต่างชาตินำมาถวายเป็นเครื่องบรรณาการ และงานศิลปะที่เอห์-ลิ-ฮีเรฟ หรือช่างหลวงในราชสำนักสร้างสรรค์ขึ้น ด้านซ้ายของลานกว้างเป็นหมู่ห้องหับต่างๆ ปัจจุบันใช้เก็บรักษาพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ หรือข้างของต่างๆที่อ้างกันว่าเป็นของพระศาสดามะหะหมัดและมิตรสหายตั้งดาบจนถึงหนวดเครา
สิ่งที่ชาวมุสลิมนับถือบูชาที่สุดคือ ฮึร์คา-เออ ซาเดต หรือหิ้งศักดิ์สิทธิ์เหนือเตาผิง เป็นหัวใจของพิธีสุสานที่จะจัดขึ้นหลังการถือศีลอดในเดือนรอมฏอน (Ramadan) ในยุคออตโตมันเรืองอำนาจ ในบรรดาข้าวของทั้งหมดที่จัดแสดงเอาไว้ ชิ้นที่น่าแคลงใจที่สุดคือจดหมายหนังสัตว์ส่งถึงประมุขเผ่าคอปต์ (Copt) แห่งอียิปต์ ลงพระนามของพระศาสดาพยากรณ์มะหะหมัด แต่ชาวมุสลิมยืนยันว่าพระองค์ทรงไม่รู้หนังสือ อาคารทางด้านหลังของลานกว้างใช้เก็บรักษาภาพเหมือนและภาพย่อส่วนของพระราชวังทอปคาปิ นับแหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับชีวิตของราชนิกูลออตโตมันในวัยเยาว์
ลายชั้นสี่มีทางเดินแคบๆ เชื่อมต่อกับลานชั้นสามสภาพภายในคล้ายเขตที่อยู่อาศัยมาก ประกอบด้วยพระตำหนักต่างๆมองออกไปเห็นทิวทัศน์ของช่องแคบบอสฟอรัสและทะเลสาบโกลเด้นฮอร์น ทั้งพระตำหนักแบกแดดที่งามจนน่าพิศวงซึ่งสร้างขึ้นเพื่อฉลองชัยชนะที่ออตโตมันมีเหนือกรุงแบกแดด อีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ ซุนเน็ต โอดาสึ หรือห้องประกอบพิธีสุหนัตซึ่งสุลต่านอิบราฮิมทรงสร้างขึ้นในปี 1640 อาจสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับตัณหาราคะของพระองค์เองพระองค์ทรงไร้สมรรถภาพอยู่หลายปี แต่ในที่สุดก็ทรงค้นพบวิธีการของพระองค์เองโดยเฉพาะ และทรงใช้ช่วงหลายปีสุดท้ายสำเริงสำราญอยู่กับกามโลกีย์
ชั้นล่างของ พระตำหนักเมจีดีเย ซึ่งสุลต่านอับดุลเมจีต (Abdul Mecit : ค.ศ. 1839-1861) ทรงสร้างขึ้นนั้นปัจจุบันกลายเป็นภัตตาคารอาหารตุรกีที่มีชื่อ เหมาะที่จะหยุดพักชื่นชมทิวทัศน์อันงดงามของช่องแคบบอสฟอรัสและทะเลมาร์มาราแม้จะมีคนค่อนข้างแน่น พื้นที่ส่วนสุดท้ายของพระราชวังอยู่นอกกำแพงชั้นใน ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์สามหลังเรียงรายจากประตูชั้นกลางลงมาตามเนินเขา เริ่มจากพิพิธภัณฑ์ตะวันออกโบราณ (Museum of the Ancient Orient) โดยสร้างเลียนแบบทำนองเดียวกันกับพิพิธภัณฑ์ในอังการา, พิพิธภัณฑ์โบราณคดี และชีนีลีเคิชด์หรือพระตำหนักกระเบื้องอันเป็นที่เก็บรักษาศิลปะวัตถุของตะวันออกกลางและกรีก-โรมันงามๆมากมาย รวมถึงอัญมณีน้ำงามจากรุงทรอย ภายในเขตพระตำหนักมีบรรยากาศรื่นรมย์ของสวนน้ำชา นับเป็นตัวอย่างศิลปะเครื่องกระเบื้องประดับชั้นเลิศของตุรกี
- มัสยิดสุลต่านอาห์เมตที่ 1 (Sultan Ahmet I)
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบลูมอสก์ (Blue Mosque) ซึ่งเรียกตามสีกระเบื้องอิซนิคบนกำแพงชั้นใน ตัวมัสยิดหันหน้าเข้าหาวิหารเซนต์โซเฟีย ด้านตรงข้ามกับจัสตุรัสสุลต่านอาห์เมต (ที่นี่เป็นจุดเด่นในงานแสดงแสงสีที่เรียบง่ายแต่สวยงามในค่ำคืนของช่วงฤดูร้อน) สร้างขึ้นในช่วงปี1609 และ 1616 โดยศิษย์สถาปนิกเอกซีนานชื่อ เมห์เมต อาอา ซึ่งต้องการแสดงให้โลกรู้ว่าเขามีความสามารถเหนืออาจารย์และสถาปนิกที่สร้างวิหารเซนต์โซเฟีย แม้ผลงานของเขาจะมีส่วนคล้ายกับวิหารนี้อยู่มาก
แม้ว่าความสำเร็จของเขาจะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่หากทว่ามัสยิดนี้ก็นับเป็นการสร้างสรรค์ที่น่าประทับใจยิ่ง มีหน้าต่างทั้งสิ้น 260 บาน หอมินาเร็ตหกหลังโรงเรียนสอนศาสนา โรงพยาบาล ที่พักแรมของขบวนคาราวาน และโรงครัวต้มน้ำซุป (เรียกว่าคุลลีเย หรือ ศูนย์กลางชีวิตที่สมบูรณ์แบบ ของอิสลาม) น่าเสียดายที่สุลต่านอาห์เมตได้เสพสุขจากผลงานของเขาเพียงปีเดียวก่อนสิ้นพระชนม์ลงด้วยวัยเพียง 27 พรรษา ปัจจุบันด้านหลังของมัสยิดมีพิพิธภัณฑ์คิลิมและพรมตุรกีตั้งอยู่
|
มัสยิดสุลต่านอาห์เมตที่ 1 (Sultan Ahmet I) |
|
คลิปวีดีโอ มัสยิดสีน้ำเงิน (Blue Mosque) |
|
มัสยิดสุลต่านอาห์เมตที่ 1 (Sultan Ahmet I) |
|
มัสยิดสุลต่านอาห์เมตที่ 1 (Sultan Ahmet I) |
|
มัสยิดสุลต่านอาห์เมตที่ 1 (Sultan Ahmet I) |
- ตลาดบาซาร์
ในอดีตถนนดีวานโยลูเป็นถนนสายเอกที่วีเชียร์และพาซาหลายยุคสมัยเคยเหยียบย่ำผ่านไป ปัจจุบันแน่นขนัดผ่านไปด้วยโรงแรมเล็กๆกับร้านอาหารที่มีราคาไม่แพงมากนักที่มีชื่อมากคือร้านพุดดิ้งช็อป ถัดไปทางตะวันตกหลายช่วงตึก ถนนดีวานโยลูจะเปลี่ยนชื่อเป็นถนนเยนึเซรีซึ่งตัดผ่านย่านประวัติศาสตร์ของนครอิสตันบูล
ปลายถนนนี้จะไปสิ้นสุดลงที่ จัตุรัสเบยาซึต และปากทางเข้าตลาดจาพาลึชาร์ซึ หรือ แกรนด์บาซ่าร์ในร่ม สมัยก่อนเป็นศูนย์กลางการค้า ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญเพราะสามารถเลือกซื้อพรม ข้าวของจุกจิกและเสื้อผ้าได้ในสนนราคาที่หลากหลายตามอารมณ์ของพ่อค้าและความสามารถในการต่อรองราคาของลุกค้า
- พระราชวังโดลมาบาห์เช (Dolmabachce palace)
สุดปลายถนนอีเนอนุจากทัคซิมมาถึงบอสฟอรัสคือ พระราชวังโดลมาบาห์เชที่แลดูงดงามอย่างประหลาด ซึ่งสร้างโดยสุลต่านอับดุลเมจีดใรช่วงศตวรรษที่ 19 เพื่อประชันกับทางยุโรป
การสร้างพระราชวังโดลมาบาห์เชต้องสิ้นเปลืองทองไปหลายตันทำให้จักรวรรดิต้องล้มละลาย พอสร้างเสร็จได้ไม่นานสุลต่านก็สิ้นพระชนม์ พระอนุชาอับดุลอาซีสทรงขึ้นครองราชย์ต่อแต่ไม่ทรงโปรดที่นี่ จึงมีบัญชาให้สร้างพระราชวังที่ประทับขึ้นใหม่ที่อีกฟากหนึ่งของช่องแคบบอสฟอรัสคือพระราชวังเบย์แลร์เบย์ โดยไม่สนพระทัยว่าเงินในท้องพระคลังไม่มีเหลืออีกแล้ว แม้โดลมาบาห์เชจะมีพรมและงานศิลปะงามๆอยู่ไม่น้อย แต่ตัวพระราชวังมักให้ความรู้สึกว่าเป็นการสิ้นเปลืองเงินแผ่นดินโดยใช่เหตุ ทั้งยังสะท้อนรสนิยมที่ไม่ดีอีกด้วย แต่นั่นอาจเป็นการมองแบบใจแคบไปบ้าง การที่เมห์เมตที่ 6 ทรงตัดสินพระทัยละทิ้งราชบัลลังก์ไปนั้นหาใช่เพราะถูกคณะผู้รักชาติภายใต้การนำของอาตาตุร์คข่มขู่คุกคามไม่ แต่ทรงปริวิตกว่าจะต้องใช้พระชนม์ชีพที่เหลืออยู่ ณ พระราชวังโดลมาบาห์เชที่วกวนและฉูดฉาดบาดตาแห่งนี้ต่างหาก
|
พระราชวังโดลมาบาห์เช (Dolmabachce palace) |
|
พระราชวังโดลมาบาห์เช (Dolmabachce palace) |
|
พระราชวังโดลมาบาห์เช (Dolmabachce palace) |
|
คลิปวีดีโอ พระราชวังโดลมาบาห์เช |
|
พระราชวังโดลมาบาห์เช (Dolmabachce palace) |
|
พระราชวังโดลมาบาห์เช (Dolmabachce palace) |
รูปโดย www.TripDeeDee.Com
|
|