ล่องเรือที่บอสฟอรัส
|
|
|
|
ล่องเรือที่บอสฟอรัส |
ล่องเรือที่บอสฟอรัส |
ล่องเรือที่บอสฟอรัส |
ล่องเรือที่บอสฟอรัส |
|
|
|
|
ล่องเรือที่บอสฟอรัส |
ล่องเรือที่บอสฟอรัส |
ล่องเรือที่บอสฟอรัส |
ล่องเรือที่บอสฟอรัส |
|
คลิปวีดีโอ บรรยากาศการล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส |
หากเดินทางไปที่สะพานกาตาลาแล้วข้ามไปยังซีร์เคจี จะมีบริการเรือเฟอร์รี่ธรรมดาชมเมืองตามสองฝั่งช่องแคบบอสฟอรัส เส้นทางนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเรือที่คุณเลือก (เรือท่องเที่ยวมีเส้นทางอยู่ในวงจำกัดกว่า แต่จอดป้ายเหมือนเรืออื่นๆเป็นส่วนใหญ่) ลำดับแรกคุณจะผ่านปากทะเลสาบโกลเด้นฮอร์น ทางขวาคือพระวังทอปคาปิและเซราลิโยพอยต์ ส่วนโดลมาบาห์เชอยู่ทางซ้าย เรือจะจอดป้ายแรกที่ เบซีคตัส หรือพิพิธภัณฑ์เรือ แต่น่าเสียดายที่เรือจะหยุดจอดป้ายละไม่กี่นาที ดังนั้นเมื่อขึ้นจากเรือแล้วคุณจึงควรซื้อตั๋วใหม่และนั่งรอเรือที่จะเข้ามาเทียบท่าลำต่อไป
ถัดมาคือ พระราชวังชีราอาน สร้างบนฝั่งยุโรปเช่นเดียวกับพระราชวังโดลมาบาห์เชโดยสุลต่านอับดุลอาซีซ ถูกไฟไหม้ลงในทศวรรษ 1920 ปัจจุบันบูรณะขึ้นเป็น ชีราอานโอเต็ลเคมปินสกี้ อันหรูหรา ทางด้านหลังมีเนินลาดชันขึ้นไปยังสวนสาธารณะยึลดึซ ในอดีตมีแต่วัชพืชและขยะของเสีย แต่ได้รับการฟื้นฟูจากเซลีค กุแลร์ซอยและสมาคมการท่องเที่ยวจนสวยงาม และเมื่อล่องเรือมาถึงใต้สะพานข้ามช่องแคบบอสฟอรัสแห่งแรกซึ่งเคยมีหมู่บ้านออร์ตาเคอย์ที้รียบง่ายสมถะ แต่บัดนี้แปรสภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสีสัน มีทั้งหอศิลป์ ร้านขายของที่ระลึก บาร์ และร้านอาหารมีระดับ รอบลานจัตุรัสที่ยื่นออกไปในทะเลมีการจัดตลาดนัดสินค้าหัตถกรรมทุกวันอาทิตย์
เรือล่องผ่านช่องแคบไปยังย่านชานเมืองที่สงบและมีเสน่ห์แบบโบราณ เช่น คานลีจาบนฝั่งเอเชีย (มีโยเกิร์ตอร่อยขึ้นชื่อ), อาร์นาวูตเคอย์ (หมู่บ้านอัลบาเนีย) และ อานาโดลูอีซารึ (ปราสาทอนาโตเลีย) บนฝั่งเอเชีย ก่อนจะเดินเรือผ่านรูเมลีฮีซารึ (ปราสาทเธรซ) บนฝั่งยุโรปอีกครั้ง ปราสาททั้งสองดูงามแปลกตาและไม่น่ากลัวในปจจุบัน ซึ่งในอดีตเคยใช้เพื่อตัดความช่วยเหลือที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลในการทำสงครามปิดล้อมกรุงเมื่อปี 1453
เมื่อเรือลอดใต้สะพานข้ามช่องแคบแห่งที่สอง เสียงอึกทึกภายในตัวเมืองจะแผ่วลงเหลือแต่เสียงหวูดเรือประมงเล็กๆที่กลับจากหาปลาในตอนกลางวัน เรือบรรทุกนั้นมันของโซเวียตและโรมาเนียที่แล่นผ่านไปยิ่งเป็นการเน้นว่า ช่องแคบตุรกีสำคัญต่อประเทศในเขตทะเลดำเพียงใด และเรือล่องไปจนถึงป้ายสุดท้ายคุณจะได้ขึ้นจากเรือได้ที่เยนีเคอย์, ซารีแยร์, เบย์คอซ หรือหมู่บ้านที่แปลกตาน่าชมตามริมฝั่งบอสฟอรัสตอนบน
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
|
บรรยากาศล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส |
|
บรรยากาศล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส |
|
บรรยากาศล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส |
คอนยา (Konya)
คอนยาเป็นนครหลวงของอาณาจักรเซลจูคในช่วงปี 1071 และ 1308 ตลอดจนเป็นศูนย์กลางสำคัญของภูมิภาคนี้ นักบุญปอลเคยมาเยือนหลายครั้งใน ค.ศ. 50 ช่วงไม่กี่ทศวรรษหลังนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม รอบเมืองมีตึกคอนกรีตผุดขึ้นมากมาย ถัดจากด้านนี้ไปจึงเป็นย่านอนุสรณ์สถานของชาวเซลจูคที่กลางใจเมือง
เมฟลานาเทกเคซี (Mevlana Tekkesi)
เมฟลานาเทกเคซี หรือสำนักเดอร์วิชลมวนทั้งนั้น ก่อตั้งขั้นในราวปี 1231 โดยเมฟลานา เจลาเลดดิน รูมี ผู้วิเศษในศาสนาอิสลาม เขาถือกำเนิดในอัฟกานิสถาน เดินทางคอนยาตามคำเชิญของสุลต่านเซลจูคเพื่อเขียนบทกวีอันลี้ลับเป็นภาษาเปอร์เซีย และเสียชีวิตลงในปี 1273
พวกเดอร์วิชมีหน้าที่สำคัญในการชักชวนพลเมืองชาวคริสต์ในอนาโตเลียให้หันมานับถืออิสลาม ตลอดจนเชื่อมช่องว่างระหว่างราษฎรเหล่านี้กับผู้ปกครองชาวเซลจูค เมฟลานานั้นได้สอนเรื่องความอดทน การให้อภัย และความสว่างแห่งปัญญา บทกวีของเขาแม้จะอยู่ในภาษาที่แปลมาก็ยังคงมีพลังโน้มน้าวจิตใจได้อย่างน่าอัศจรรย์
สำนักพวกเดอร์วิชถูกอาตาตุร์คสั่งปิดในปี 1925 แต่ในเดือนธันวาคมของทุกปีก็ยังมีการจัดงานเทศกาลเมฟลานาขึ้นที่สนามยิมเนเซียมในเมืองเป็นประจำ แม้จะไม่ใช่ในสำนักอันเป็นต้นกำเนิดก็ตาม ในเทศกาลนั้นเหล่าเดอร์วิชจะแต่งชุดยาวสีขาว หมุนตัวไปรอบๆเหมือนเต้นบัลเล่ต์ โดยหวังว่าจะรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าได้ ศรัทธาอันแรงกล้าของผู้มาร่วมงานแสดงให้เห็นว่าพิธีเซมา (Sema) หรือพิธีลมวน ยังคงความสำคัญตามนัยยะทางศาสนาอยู่อย่างครบถ้วน
|
เมฟลานาเทกเคซี (Mevlana Tekkesi) ภายในไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพคะ |
|
คลิปวีดีโอ บรรยากาศด้านนอกพิพิธภัณฑ์เมฟลานา |
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น |